ชายหรือหญิงคู่หมั้นไม่อาจนำการหมั้นมาฟ้องให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จดทะเบียนสมรสได้

วันใดวันหนึ่งหากชายและหญิงได้หมั้นหมายกันไว้ว่าจะไปจดทะเบียนแต่งงานกันในอนาคตและต่อมา ชายหรือหญิงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย ตามกฎหมายชายหรือหญิงที่เป็นฝ่ายถูกบอกเลิกการหมั้นหรือ   ปฏิเสธการแต่งงานเรียกร้องได้เพียงแค่ของหมั้นและค่าเสียหายหากมา ไม่อาจะฟ้องขอให้ศาลสั่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปจดทะเบียนสมรส หรือใช้คำพิพากษาของศาลแสดงแทนเจตนาไม่ได้

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2550 จำเลยที่ 2 บอกโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องการสมรสกับโจทก์ เป็นการบอกเลิกสัญญาหมั้นของจำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่มีผลผูกพันโจทก์

โจทก์กับจำเลยที่ 2 สมัครใจเลิกสัญญาหมั้นกัน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจะหยิบยกปัญหาเรื่องการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534

มาตรา 1437  การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,542