สามีทำบันทึกข้อตกลงยินยอมและจดทะเบียนยกที่ดินให้กับภรรยาในระหว่างสมรส ต่อมาหย่าขาดจากกันภริยาย่อมฟ้องขับไล่ได้

          กรณีที่ระหว่างสมรสนั้น สามีเซ็นบันทึกข้อตกลงยินยอมให้กับภรรยาไว้ ว่าให้ยกกรรมสิทธิ์ในส่วนของตนเองเป็นของภรรยา และระบุทรัพย์สินไปสามารถกระทำได้ หากภายหลังชายนั้นมีชู้หรือนอกจาก จนเกิดเหตุฟ้องหย่าต่อกัน ทรัพย์สินที่ชายนั้นทำบันทึกข้อตกลงยกให้ไปแล้ว ย่อมเรียกร้องอะไรจากตัวภรรยาไม่ได้ จึงเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์อื่นที่เป็นสินสมรสต่อไปได้

          ตัวอย่าง นาย A ตกลงยินยอมยกกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้กับ นาง B ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายและได้ไปจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ดังกล่าวไปเป็นของภรรยาย่อมกระทำได้ ต่อมาหากเกิดการหย่าร้างต่อกัน เมื่อกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินเป็นของนาง B แต่เพียงผู้เดียว นาย A ก็ย่อมหมดสิทธิ์ในตัวทรัพย์สินดังกล่าวหาก นาย A ยังอยู่ในบ้านและที่ดินหลังจากที่หย่าร้างกัน นาง B ย่อมมีสิทธิขับไล่นาย A สามีเก่าออกไปจากบ้านได้

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530 โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3)แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้

          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย สิทธิอาศัยสิ้นลง ผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้อาศัย 1408

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,593