เจ้าหนี้จะฟ้องผู้ค้ำประกันอีกไม่ได้ หากเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ต่อศาลแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอม

 

          ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ก็ต่อเมื่อ

1. เมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน หรือ

2. ยังมีหนี้ประธานที่ผู้ให้กู้ยังไม่ได้รับชําระหนี้

          แต่เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมทำให้หนี้ประธาน คือ หนี้กู้ยืมระงับ เกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานระงับ จึงไม่มีหนี้ที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอีก ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่จะต้องใช้เงินแก่ผู้ให้กู้

 

            คำพิพากษาฎีกาที่ 12711/2558

หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน หรือยังมีหนี้ประธานที่ผู้ให้กู้ยังไม่ได้รับชําระหนี้ กล่าวคือ ยังคงมีหนี้ประธานอยู่

การที่โจทก์ได้ยื่นฟ้อง บ. ให้รับผิดชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธาน โจทก์กับ บ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมทำให้หนี้ประธานคือหนี้กู้ยืมระงับ เกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานระงับ จึงไม่มีหนี้ที่จําเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอีก จําเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่จะต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามมาตรา 698

 

มาตรา 698  อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ

 

มาตรา 852  ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน



ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: พงษ์ศักดิ์ ชื่นมณี [IP: 223.206.234.xxx]
เมื่อ: 2023-05-17 16:28:18
เป็นเรื่องดีมาก..ผมกำลังศึกษาช่องทางการสู้คดี แพ่ง เป็นผู้ค้ำประกัน
เงินกู้โครงการสวัสดิการช.พ.ค.ทาง
ธนาคาร.ลูกหนี้หลังจากกู้โครงการ
นี้แล้ว ก็ไปกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
...(ในการชำระหนี้ลูกหนี้ ไปเจรจา
กับเจ้าหน้าที่หักเงินราขการต้น
สังกัดที่เขารับราชการอยํ่ คือไม่
ยินยอมให้เจ้าหน้าที่หักเงินเพื่อ
ชำระหนี้โครงการเงินกู้)ส่งผลให้ผิดนัดชำระหนี้ ) ต่อมามกราคม2566เจ้าหนี้
ฟ้องบังคับขำระหนี้ทั้งลูกหนี้และผู้คำ
ประกันศาลนัด17มีคนาคม66
ก่อนหน้าธนาคารนัดประนีประยอม
ยอมความ โดยเขาจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ พร้อม
โครงสร้างการชำระหนี้เป็นสูตร
สำเร็จไว้แล้ว มีทนายความมาเป็นผู้
ดำเนินการแทนเจ้าหนี้ มีบุคลากร
ศาลสามราย มารัับรู้ ผมสงสัยว่า
สัญญาณประนีประนอมยอมความ
ฉบับนี้ ผู้คำต้องลงลายมือชื่อหรือ
ไม่ ได้รับทราบมาว่าสัญญานี้ผู้คำ้
ประกันถ้าไม่ลงลายมือชื่อ ผลจะไม่
มีข้อผูกมัดเป็นผู้คำ้ประกันต่อไป
แต่สันนั้นหา างออกไม่ได้..ผมพยา
ยามคัดค้านจะไม่ลงลายมือชื่อ
กลับมีการกดดัน..แม้เจ้าหน้าที่ศาล
เองก็ปรึกษาไม่ได้ไม่มีคำอธิบาย
แต่กดดัน ถ้าผู้คำประกันไม่ลงลายมือชื่อ..การประนีประนอมยอมความก็ไม่สำเร็จ..วันนี้ไม่ต้องพูดกันอีก กลับไป
ได้..วันที่14มีนาคม66มาบังคับคดี.ด้วยที่ตนไม่รู้กฎหมาย และยังไม่มีทนาย
เป็นที่พึ่ง.กลัวจะถูกยึดทรัพย์เลย
ยอมลงลายมือชื่อ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน...ส่วนต่อไปผู้คำประกันจะมีทางออกอย่างไร..คงต้องอาศัยทนาย
ความ.ช่วยว่าจะหลุดจากผู้คำ้ประกันได้อย่างไร..เวลานี้ผมมีภาระคำ้ประกัน
โครงการเดี่ยวกัน รวม5รายด้วยกันมีช่องทางช่วยเหลืให้หลุดผู้คำ้ประกันทั้งห้าราย(รวมกับรายดังกล่าว) ท้ายนี้หวังว่าท่านจะอนุเคราะห์ผม ส่วนค่าใช้จ่าย
คงตกลงกันภายหลัง..ขอบพระคุณ
ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,547