ดอกเบี้ยหลังจากผิดนัดชำระหนี้ห้ามมิให้คิดเกิน 5 ปี หากคิดหลังจากนั้นเป็นโมฆะ

          หากมีการฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยไม่ว่าจะเป็นอัตราร้อยละเท่าไหร่ต่อปี เจ้าหนี้ไม่อาจคิดดอกเบี้ยเกิน 5 ปี นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด หากมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเข้ามาตามฟ้องเป็นทุนทรัพย์เกิน 5 ปี ส่วนที่เกินมานั้นย่อมเป็นโมฆะ

          แต่คำว่าดอกเบี้ยผิดนัดนั้น ไม่รวมถึงดอกเบี้ยตามสัญญาต่างๆ ทีได้กำหนดไว้ตามกรอบของกฎหมายคือไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี เช่น หากทำสัญญากู้ยืมเงินไว้ที่จำนวนเงิน 10,000,000 บาท กำหนัดคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระเงินกันไว้ 10 ปี และกำหนดไว้ในสัญญาว่าหากผิดนัดชำระหนี้ลูกหนี้ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จนกว่าจะชำระให้แก่เจ้าหนี้จนหมด เท่ากับว่าลูกหนี้ต้องชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาเมื่อครบระยะเวลา 10 ปี จึงต้องชำระเงินต้นจำนวน 10,000,000 บาท และดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงิน 15,000,000 บาท รวมเป็น 25,000,000 บาท ต่อมาหากเจ้าหนี้ยังไม่ติดตามทวงถามหลังจากที่ครบกำหนดชำนะหนี้ตามสัญญากู้ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาอีก 8 ปี และนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินจำนวน 37,000,000 บาท

          ลูกหนี้ย่อมสามารถนำระยะเวลาตามมาตรา 193/33(1) เข้าสู้ตามฟ้องของเจ้าหนี้ได้ เพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยหลังจากพ้นระยะเวลา 5 ปีหลังจากที่ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยเพียง 7,500,000 บาท และรวมเข้ากับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญาเป็นเงิน 32,500,000 บาทเท่านั้น ดอกเบี้ยที่เกินมาเป็นโมฆะ

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2540 "คดีมีปัญหาตามฎีกาเจ้าหนี้เพียงว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระตามสัญญาจำนองวงเงิน 50,000 บาท ต้องคิดให้นับแต่วันทำสัญญาจำนอง (7 กันยายน 2520) จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (9 มีนาคม 2537) หรือว่ามีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระเพียง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/27 และมาตรา 745 โดยเจ้าหนี้ฎีกาว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 บัญญัติว่า"ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อเจ้าหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้"และมาตรา 193/27 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนอง ฯลฯ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง ฯลฯ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้"ย่อมมีความหมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระสำหรับหนี้ประธานที่ขาดอายุความแล้ว สำหรับหนี้ประธานที่ยังไม่ขาดอายุความย่อมสามารถคิดดอกเบี้ยเกินห้าปีได้ ซึ่งหนี้ของเจ้าหนี้ยังไม่ขาดอายุความจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าห้าปีได้นั้น เห็นว่าการจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันหนี้ กฎหมายบทดังกล่าวบัญญัติเป็นข้อยกเว้นว่า แม้หนี้ที่ประกันหรือหนี้ประธานจะขาดอายุความแล้วก็ยังบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองได้ แต่ดอกเบี้ยที่ค้างให้คิดย้อนหลังขึ้นไปได้เพียงห้าปี หากหนี้ประธานไม่ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างชำระก็มีกำหนดอายุความห้าปีเช่นกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1)ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์คิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้ย้อนหลังไปมีกำหนดห้าปีนั้นชอบแล้วฎีกาเจ้าหนี้ฟังไม่ขึ้นพิพากษายืน

และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532 การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526 จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน2527 คดีโจทก์สำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความแต่จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งได้เพียงภายใน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

มาตรา 193/33  “สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี

(1) ดอกเบี้ยค้างชำระ


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,589