เด็กโทรมาขอร้องให้พาไปเที่ยวต่างจังหวัดแม้เด็กสมัครใจเอง ก็เป็นการพรากผู้เยาว์

เด็กโทรมาขอร้องให้พาไปเที่ยวต่างจังหวัดแม้เด็กสมัครใจเอง ก็เป็นการพรากผู้เยาว์

          คดีความผิดฐานพรากผู้เยาว์นั้นเกิดขึ้นได้มากมายหลายกรณี วันนี้เราจะมาพูดถึงกรณีหนึ่งที่แม้เด็กจะยินยอมก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์อยู่ หากพูดถึงเรื่องนี้เป็นเรื่องของการตัดกรรมสิทธิ์การปกครองของผู้ปกครอง หากไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์

          ตัวอย่าง นายสดใสอายุ 21 ปี รักใครอยู่กับนางสาวจำปามาก อายุ 16 ทั้งสองรักใคร่กันมากและได้แอบไปมาหาสู่กันบ่อยๆ โดยได้รับความเห็นชอบจากบิดาและมารดา แต่มีข้อแม้ห้ามมิให้ออกจากบอกหากพ้นเวลา 20.00 น. ในวันเกิดเหตุ นางสาวจำปาคิดถึงนายสดใสคิดถึงมากอยากให้พาไปเที่ยวงานประจำจังหวัด และได้มาขออนุญาตจากพ่อและแม่ในเวลา 22.00 น. แต่พ่อและแม่ไม่อนุญาตให้ไปจึงได้โทรหานายสดใสเพื่อที่จะให้มารับตนไปเที่ยวงานประจำจังหวัดจึงได้ปีนออกรั้วไปและกลับมาเวลาเกือบรุ่งเช้า พ่อและแม่เกิดรู้เข้าจึงไม่พอใจเป็นอย่างมากได้เดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับนายสดใสข้อหาพรากผู้เยาว์

          ดังนั้นการที่พ่อและแม่ของนางสาวจำปาซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครอง ถูกนายสดใสตัดสิทธิ์การปกครองไปจากพ่อและแม่ในฐานะผู้ปกครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงถือว่านายสดใสได้พรากนางจำปาไปจากพ่อและแม่เป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นการร้องขอให้นายสดใสมารับเพื่อให้ตนได้ออกไปเที่ยวก็ตามแต่เป็นการละเมิดสิทธิปกครองของพ่อและแม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317

อ้างถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 764/2556 ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 ถึง มาตรา 319 กฎหมายมุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพรากเพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆ กระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยปริยาย นอกจากนี้กฎหมายมิได้จำกัดว่าพรากโดยวิธีการใด และไม่ว่าผู้เยาว์จะเป็นฝ่ายออกจากบ้านไปเองหรือโดยมีผู้ชักนำก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น การที่ผู้เยาว์เป็นฝ่ายโทรศัพท์ไปหาจำเลยจำเลยมาพบแล้วพาผู้เยาว์ไปอยู่กับจำเลยที่บ้านเช่าที่อยู่กรุงเทพมหานครและพาผู้เยาว์ไปอยู่กับจำเลยที่จังหวัดระยอง ระหว่างอยู่ด้วยกันจำเลยร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยมิได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์จะสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลยก็ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ถูกพรากจากไปโดยปริยาย เมื่อจำเลยพาผู้เยาว์ไปอยู่กินกับจำเลย จำเลยก็มิได้พาผู้เยาว์ไปพบบิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ของจำเลยเพื่อแจ้งให้ทราบว่าผู้เยาว์เป็นภริยาของตน ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยา ทั้งเมื่อจำเลยทราบว่าผู้เยาว์ตั้งครรภ์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พาอยู่เยาว์ไปฝากครรภ์ และเมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองพาผู้เยาว์กลับมาบ้าน จำเลยก็มิได้นำญาติผู้ใหญ่ฝ่ายจำเลยมาติดต่อสู่ขอผู้เยาว์และจัดงานแต่งงานกับผู้เยาว์ตามประเพณี ทั้งที่ทราบว่าผู้เยาว์กำลังมีบุตรกับจำเลยจนโจทก์ร่วมที่ 2 ต้องพาผู้เยาว์ไปทำแท้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะอยู่กินกับผู้เยาว์ฉันสามีภริยาจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก

มาตรา 317    "ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท
          ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
          ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท"

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,423