พยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง แม้ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง พินัยกรรมก็ไม่สมบูรณ์!!


พยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง แม้ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง พินัยกรรมก็ไม่สมบูรณ์!!

 

          การทำพินัยกรรมนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์ที่จะยกทรัพย์สินหรือแบ่งแยกสมบัติให้ทายาทหรือบุคคลอื่นตามเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อว่าเมื่อตัวเองตายไปแล้วทายาทจะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกันว่าที่ดินตรงนี้ รถยนต์คนนั้น เงินฝากในบัญชีร้อยล้านพันล้านจะเป็นของทายาทคนใด โดยจะมีหลักเกณฑ์ของการทำพินัยกรรมว่า “ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น” พินัยกรรมจึงจะสมบูรณ์

          แต่ก็อาจจะมีข้อสังเกต เช่น ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อต่อหน้าพยานเพียงคนเดียว ส่วนพยานอีกคนหนึ่งมาถึงและลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อแล้วประมาณ 10 นาที แม้ว่าขณะนั้นผู้ทำพินัยกรรมและพยานจะยังอยู่พร้อมหน้ากัน ก็ถือว่าพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

อีกตัวอย่าง เช่น พยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมก่อนผู้ทำพินัยกรรม ต่อมาอีก 3 วัน ผู้ทำพินัยกรรมจึงพิมพ์ลายมือต่อหน้าพยานนั้นเอง การลงชื่อของพยานนั้นสมบูรณ์

         

คำถาม : พยานลงชื่อในพินัยกรรมโดยไม่เห็นเหตุการณ์หรือไม่อยู่ต่อหน้า ขณะทำพินัยกรรม แต่ผู้ทำพินัยกรรมต้องการจะทำพินัยกรรมจริง พินัยกรรมนั้นจะสมบูรณ์หรือไม่

          คำตอบ : ไม่สมบูรณ์ครับ เพราะพยานจะต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะทำพินัยกรรม พินัยกรรมดังกล่าวจึงจะมีผลสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมาย

         

คำพิพากษาฎีกา 11034/2553

บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคแรก หมายความว่าผู้ทำพินัยกรรมแบบที่เป็นหนังสือนั้นต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานจะต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นเป็นสำคัญ ทั้ง

บทบัญญัติกฎหมายที่ว่าผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานทั้งสองคน และพยานทั้งสองจะต้องลงลายมือชื่อรับรองในขณะนั้นเป็นบทบัญญัติที่มีความหมายชัดเจนจนกระทั่งไม่อาจจะตีความหรือแปลความหมายไปเป็นอย่างอื่นได้

ดังนั้น การที่พยานไม่ว่าคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนในพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรม โดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลังก็ย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวและทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1705 

ไปในทันที แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมจะมาสอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริงก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้การลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ไม่ชอบหรือพินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้ว กลับกลายเป็นการลงลายมือ

ที่ชอบทำให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายไปได้

 

มาตรา 1656  พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม

ไว้ในขณะนั้น

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้

 

มาตรา 1705  พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652, 1653, 1656, 1657, 1658, 1660, 1661 หรือ 1663 ย่อมเป็นโมฆะ


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,279