สัญญากู้เงินคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ต้องบังคับกันอย่างไร

สัญญากู้เงินคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ต้องบังคับกันอย่างไร

 

          “ท่านห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี”

         

กรณีจำนวนเงินตามสัญญากู้เงิน คิดดอกเบี้ยเกินอัตรารวมเป็นต้นเงินด้วย  คงตกเป็นโมฆะเฉพาะต้นเงินที่ไม่ชอบเท่านั้น  ผู้ให้กู้คงมีสิทธิฟ้องเรียกคืนเฉพาะส่วนต้นเงินที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

          คำพิพากษาฎีกาที่ 4372/2545 

การที่จำเลยนำดอกเบี้ยจำนวน 60,000 บาท  ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่คิดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปรวมเข้ากับต้นเงิน 300,000 บาท  ที่กู้ยืม  แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาที่จะแบ่งแยกการกู้เงินออกเป็นสองส่วน  เฉพาะนิติกรรมการกู้ยืมส่วนที่เป็นดอกเบี้ยจำนวน  60,000 บาท  เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ  ส่วนนิติกรรมการกู้ยืมจำนวน 300,000 บาท  ยังคงสมบูรณ์อยู่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173  หนี้กู้ยืมในส่วนนี้จึงสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7207/2555

          บิดาโจทก์และโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ3 ต่อเดือน หรือร้อยละ 36 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้าม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ ต้นเงินตามสัญญากู้เงินที่ได้มาจากดอกเบี้ยที่ไม่ชอบทั้งหมดย่อมตกเป็นโมฆะด้วย แม้สัญญากู้ยืมเงินมีส่วนของต้นเงินที่มาจากดอกเบี้ยที่ไม่ชอบรวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ส่วนของต้นเงินที่ชอบ

จำนวน 208,115.06 บาท เสียไปด้วย เพราะพึงสันนิษฐานโดยพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเจตนาให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์จึงคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ในส่วนต้นเงินจำนวน 208,115.06 บาท การที่จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระอยู่ได้ตามป.พ.พ.มาตรา 407

         

ต่อมามี  คำพิพากษาฎีกาที่ 2131/2560 

เปลี่ยนบรรทัดฐานการตัดสินใหม่ คือ อัตราดอกเบี้ย ที่เจ้าหนี้คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดให้ถือเป็นโมฆะ และเงินดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดทั้งหมดนั้น  ให้ถือเป็นการจ่ายคืนเงินต้นไปแล้วบางส่วน หรือทั้งหมด(ถ้าจ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้นแล้ว 

ถือว่าชำระหนี้หมดแล้ว)

 

ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 5376/2560  วินิจฉัยว่าการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 411  ผู้กู้เรียกคืนไม่ได้  แต่ผู้ให้กู้ก็ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยดังกล่าว  จึงต้องนำดอกเบี้ยที่ชำระไปนั้นไปหักต้นเงิน

คำพิพากษาฎีกาที่ 5376/2560  (ประชุมใหญ่) 

การที่จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์  ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 411  จำเลยหาอาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระหาได้ไม่  โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่

กฎหมายกำหนดไว้จากจำเลย  เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะและจำเลยไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย  ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปหักเงินต้น

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,579