ใช้ให้ไปถอนเงินจากธนาคาร แต่ถอนเกิดกว่าที่ใช้ไปทำ “ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงธนาคาร “

นายจ้างบางท่านอาจจะเคยใช้ให้ลูกน้องไปถอนเงินหรือกดเงินสดออกจาก ATM แทนตนเอง แต่ลูกน้องกลับถอนเงินมามากกว่าที่ใช้ให้ไปทำ และนำเงินที่กดเกินมานั้นเก็บไว้ใช้เป็นของตนเองโดยไม่บอกผู้ใช้ไป กรณีดังกล่าวเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญา ผู้ใช้เป็นผู้เสียหาย

          ตัวอย่าง นายชัย เปิดร้านทำธุรกิจค้าส่งมีลูกน้องมากมายหลายคน แต่มีนายสิงห์เป็นฝ่ายบัญชีและการเงิน โดยมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือต้องไปถอนเงินสดโดยใช้ใบเบิกเงินเดือนละ 3,000 บาท เพื่อนำมาให้แม่บ้านใช้จ่ายตลาดทำกับข้าวมื้อเที่ยงเลี้ยงพนักงานทุกวัน นายชัยจึงมอบใบถอนเงินสดของตนเองไว้ให้สำหรับไปถอนเงิน แต่ปรากฏว่าในเกิดเหตุ นายสิงห์กลับถอนเงินโดยตั้งใจเขียนจำนวนเงินออกมา 30,000 บาท จึงคิดจะนำเงินนั้นมาใช้ก่อนจ่ายส่วนตัวก่อน แล้วจึงทยอยมอบเงินให้กับแม่บ้านครั้งละ 3,000 บาทแทน

          การกระทำของนายสิงห์เป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต ใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จหลอกลวงให้ได้ประโยชน์ในตัวเงินที่จะได้มาจากธนาคาร จึงมีความผิดต่อพนักงานธนาคารที่ทำการจ่ายเงินให้ตามที่ถูกหลอก ผิดข้อหาฉ้อโกง

อ้างถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 9663/2554 ผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยเบิกเงิน 490,000 บาท จากบัญชีของผู้เสียหายที่เปิดไว้ที่ธนาคาร แต่เป็นเจตนาของจำเลยที่ต้องการได้เงินโดยมิชอบและหาวิธีการโดยการปลอมใบถอนเงินนำไปหลอกลวงเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น เงินที่จำเลยได้มาตามฟ้อง แม้จะเป็นเงินที่เจ้าหน้าที่ธนาคารทำพิธีการทางบัญชีของธนาคารหักจากบัญชีของผู้เสียหายก็ตาม แต่เป็นเพราะจำเลยนำเอกสารปลอมไปหลอกลวงจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของธนาคารหลงเชื่อ เงินที่จำเลยได้ไปจึงเป็นเงินของธนาคาร มิใช่เงินของผู้เสียหาย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอกเงินผู้เสียหาย แต่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงธนาคาร

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินผู้เสียหาย แต่ฟังได้ว่าจำเลยฉ้อโกงธนาคารจึงเป็นความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนจากที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ถือเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. มาตรา 192 วรรคสอง และไม่อาจสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้เช่นกัน

          มาตรา 341  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: ไพรศาล [IP: 1.47.73.xxx]
เมื่อ: 2021-04-02 06:43:49
เป็น​ประโยชน์​ครับ​

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,184