ขายทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากศาล “เป็นโมฆะ”

ปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่เด็กผู้เยาว์จะมีทรัพย์สินหลายแสน หลายล้านบาท ไม่ว่าจะได้รับมาจากมรดกหรือจากการให้โดยเสน่หาหรือจากไหนก็ตาม ผู้ปกครองเด็กผู้เยาว์จะทำการยักย้ายถ่ายโอน หรือขายเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ไปยังบุคคลอื่นต้องร้องขออนุญาตต่อศาลก่อน ในการทำนิติกรรมนั้นๆ ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นโมฆะ

          ตัวอย่างคือ เด็กชายเอ อายุ 13 ปี เป็นเจ้าของที่ดินราคาซื้อขายอยู่ที่ 5,000,000 บาท ซึ่งได้รับมรดกมาจากแม่ได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว มีนายบีเป็นพ่อและในฐานะผู้ปกครอง ต่อมาได้มีคนติดต่อซื้อขายที่ดินดังกล่าว โดยนายบีก็ต้องการขายที่ดินนั้นเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายเลี้ยงดูเด็กชายเอก็ตาม ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากต้องได้รับการอนุญาตจากศาลในการทำนิติกรรมดังกล่าวก่อน เป็นการใช้อำนาจปกครองโดยละเมิด ไม่ทำการร้องต่อศาลเพื่อขออนุญาตขายที่ดินดังกล่าว แต่การจะอนุญาตหรือไม่นั้น เป็นดุลพินิจของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574(1)

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกา 3169/2524 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายพิพาท การขายที่ดินหรือการทำสัญญาจะขายที่ดินของผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมจะทำแทนผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต หากฝ่าฝืนกระทำนิติกรรมย่อมไม่สมบูรณ์ หากผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาจะขายที่ดินของผู้เยาว์โดยมีเจตนาจะยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลในภายหลัง ก็จะต้องระบุเงื่อนไขไว้ในสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินนั้นต่อเมื่อศาลอนุญาตแล้ว ซึ่งเป็นการกำหนดให้นิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ แต่ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายพิพาทที่นางมะลิ ยีสมัน ทำกับโจทก์หาได้มีการกำหนดเงื่อนไขเช่นที่ว่ามานี้ไว้แต่อย่างใดไม่ แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะขออนุญาตต่อศาล อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว นิติกรรมสัญญาจะซื้อขายที่ดินรายพิพาทจึงไม่สมบูรณ์ผูกพันจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้เยาว์ แม้ต่อมานางมะลิ ยีสมัน จะได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินรายพิพาทแทนจำเลยทั้งสี่ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายได้ ก็มิใช่เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา การที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตในภายหลัง หาทำให้นิติกรรมซึ่งไม่สมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นได้ไม่ ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดินรายพิพาทซึ่งนางมะลิ ยีสมัน ทำไว้กับโจทก์จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่โอนขายที่ดินไม่ได้ คดีไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยปัญหาข้ออื่นต่อไปที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินรายพิพาทให้แก่โจทก์นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาฎีกาของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้น

          คำพิพากษีกาที่

          แต่หากเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน แม้ในขณะนั้นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม โดยกำหนดส่งมอบที่ดินไว้ภายหลังที่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้วโดยผู้ปกครองเซ็นเป็นพยานในสัญญา สัญญาดังกล่าวไม่เป็นโมฆะและใช้บังคับกันได้

                อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2544 สัญญาพิพาทเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และแม้ขณะทำสัญญาจำเลยจะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตามแต่กำหนดระยะเวลาส่งมอบที่ดินไว้ภายหลังจำเลยบรรลุนิติภาวะแล้วโดยมารดาจำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญา จึงไม่ตกเป็นโมฆะและใช้บังคับได้ ในสัญญาดังกล่าวแม้กำหนดวันส่งมอบที่ดินไว้แน่นอนในวันที่ 14 มกราคม 2534 แต่เนื่องจากที่ดินตามสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 6792 ซึ่งต้องมีการแบ่งแยกที่ดินก่อนที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา แต่คู่สัญญาหาได้ตกลงไว้เป็นการแน่นอนในเรื่องดังกล่าวไม่ คงกล่าวไว้เพียงว่าผู้ขายได้ขายส่วนหนึ่งของโฉนดที่ดินเลขที่ 6792 เนื้อที่ดินประมาณ 20 ไร่ ตามผังที่กาเส้นสีแดงเท่านั้นจึงมิใช่กรณีกำหนดชำระหนี้กันไว้แน่นอนแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่มารับโอนที่ดินจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาหาได้ไม่ ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่ไปตามกำหนด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ หากโอนไม่ได้ก็ต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์

          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574  “ นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

 


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,182