ตอนที่ 36 นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบข้อบังคับการทำงานได้เองโดยไม่ต้องให้ลูกจ้างยินยอมได้หรือไม่
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผมเชื่อว่านายจ้างและลูกจ้าง(บางคน) รู้จักเป็นอย่างดีเพราะไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขอะไรต่างๆ
เช่น วันหยุด วันลา วินัย และ โทษทางวินัย
ล้วนแต่ถูกกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างทั้งสิ้น อันจะว่าไป
ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งไม่ว่าจะเป็น
ระเบียบก็ดี ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ดี หรือ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ดี
ส่วนใหญ่แล้วนายจ้างเป็นผู้กำหนด
แม้จะมีกฎหมายกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ตาม
แต่นายจ้างส่วนใหญ่ก็เป็นผู้จัดทำหรือเป็นผู้กำหนดอยู่ดี
คำถามผมวันนี้คือ
นายจ้างจะแก้ไขระเบียบ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้เองโดยลำพังหรือไม่
คำตอบ
คงต้องแยกเป็นสองกรณีครับ
กรณีแรก
ถ้าการแก้ไขระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น
เป็นการแก้ไขที่ให้มีผลให้ให้บังคับใช้ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด
อันนี้ใช้ไม่ได้ “เป็นโมฆะ” ทุกกรณีครับ ไม่ว่าลูกจ้างจะยินยอมหรือไม่ก็ทำไม่ได้
กรณีที่สอง
หากการแก้ไขนั้นไม่ได้ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
ถ้าการแก้ไขนั้นไม่ได้ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด อันนี้ถ้าลูกจ้างยินยอมก็ทำได้ แต่ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม ก็ทำไม่ได้ หรือ
“เป็นโมฆะ” เช่นเดียวกับกรณีแรกครับ เว้นแต่ว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นประโยชน์กับลูกจ้างมากกว่าของเดิมนะครับ
มีแนวคำพิพากษาที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้อง
คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598-2599/2527 , 2498/2529 , 1889/2531 , 946/2530
ท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ
By ทนายนำชัย ปรึกษากฎหมายโทร 086-3314759 , 062-4487878 ,
02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments