ตอนที่ 28 นายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้ หากลูกจ้างไม่ยินยอม
นายจ้างและลูกจ้างหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องการทำงานล่วงเวลา
ทำงานในวันหยุด กันอยู่ค่อนข้างมาก
นายจ้างหลายคนเข้าใจว่าสามารถสั่งหรือบังคับให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ทำงานล่วงเวลาได้
ซึ่งถามว่าเข้าใจถูกมั๊ย ก็ต้องบอกว่าถูกแค่ครึ่งเดียวครับ
เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆกันครับ
“ค่าล่วงเวลา” หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541 มาตรา 24 กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว
ๆ ไป
ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน
หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
กฎหมายแรงงานกำหนดห้ามไว้ก่อนเลยว่า
“ห้ามไม่ให้นายจ้าง” ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา
เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป
อันแสดงให้เห็นว่านายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้ เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม และ ต้องยินยอมเป็นคราวๆไป
จะให้ลูกจ้างทำหนังยินยอมไว้ล่วงหน้าตอนทำสัญญาจ้างไม่ได้
นอกจากนี้มาตรา 24 วรรคสองยังบอกอีกว่า “ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน
หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น”
อันแสดงให้เห็นว่าถ้าเป็นงานที่เข้าลักษณะตามมาตรา
24 วรรคสองนี้ นายจ้างสามารถสั่งหรือบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้
“เท่าที่จำเป็น” เท่านั้นนะครับ
หากท่านใดสนใจเพิ่มเติมสามารถศึกษาแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่
3117/2529 , 2985-2986/2543 , 4121/2543
By ทนายนำชัย ปรึกษากฎหมาย โทร 086-3314759 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments