เมื่อลูกหนี้ตาย !! เจ้าหนี้จะเรียกให้ทายาท ใช้หนี้แทนได้หรือไม่

         เมื่อบุคคลได้เสียชีวิตลงแล้ว มรดกของผู้ตายก็ย่อมตกทอดสู่ทายาท ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ระบุให้กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ  ซึ่งการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้นั้น ก็เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่ต้องตกทอดสู่ทายาทด้วยเช่นกัน เพียงแต่มาตรา 1601 ก็ได้ระบุไว้เพิ่มเติมด้วยว่า “ทายาทไม่จำต้องรับผิด เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน” ด้วย

ดังนั้น

เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ทายาทของผู้ตาย ชำระหนี้ให้แก่ตนได้ แต่บรรดาทายาท จะถูกจำกัดขอบเขตความรับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ ซึ่ง ด้วยการฟ้องคดีต่อผู้จัดการมรดก(ถ้ามี) หรือจะยื่นคำร้องขอให้ตั้งเจ้าหนี้เป็นผู้จัดการมรดก ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียของกองมรดกก็ได้ เพื่อนำกองมรดกของผู้ตายมาชำระหนี้จนครบถ้วน แล้วจึงให้มีการปันมรดกให้กับบรรดาทายาทต่อไป

แต่สำหรับในกรณีที่เจ้ามรดก มีมรดกไม่เพียงพอสำหรับการชำระหนี้ทั้งหมดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1739 กำหนดลำดับขั้นการชำระหนี้ไว้ดังนี้

          (1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก

          (2) ค่าใช้จ่ายในการทำศพ

          (3) ค่าภาษีอากรซึ่งกองมรดกค้างชำระ

          (4) ค่าจ้างซึ่งเจ้ามรดกค้างชำระแก่เสมียน คนใช้ และแรงงาน

          (5) ค่าเครื่องอุปโภค บริโภค อันจำเป็นประจำวัน ซึ่งส่งให้แก่เจ้ามรดก

          (6) หนี้สินสามัญของเจ้ามรดก

          (7) บำเหน็จของผู้จัดการมรดก

ส่วนหนี้ที่มีประกัน เช่น จำนอง หรือจำนำ เจ้าหนี้บุริมสิทธิอื่น ย่อมสามารถบังคับกับหลักประกันได้ทันที โดยไม่จำต้องอยู่ภายใต้ลำดับขั้นดังกล่าวแต่อย่างใด

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,495