บริษัทให้ของที่ระลึกจากการทำงาน จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (3%) หรือไม่ ?

            ในบางสถานประกอบการนั้น  เมื่อครบรอบอายุของหน่วยงานเป็นพิเศษ ก็จะมีการให้ของที่ระลึกกับพนักงานด้วยตามสมควรแก่กรณีไป ซึ่งบรรดาของดังกล่าวนั้น ในบางทีก็อาจประดับด้วยอัญมณี พลอย หรือของมีค่าอื่นซึ่งอาจตีราคาเป็นเงินได้ด้วย

 ของที่ระลึกดังกล่าวนี้ กรมสรรพากรมองว่าเป็น ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องถือว่าเป็นเงินได้ และเงินได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1)แห่งประมวลรัษฎากรด้วย

            พนักงานมีหน้าที่ต้องนำมูลค่าของของที่ระลึกฯ ที่ได้รับ มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ แห่งประมวลรัษฎากร  ส่วนนายจ้างผู้ให้ของที่ระลึกดังกล่าว ก็มีหน้าที่เป็นผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย

            ข้อหารือกรมสรรพากร เลขหนังสือ กค ๐๗๐๒/๒๑๐  เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักภาษีเงินได้ ที่จ่าย จากการให้ของที่ระลึกแห่งการทำงานนาน) ธนาคาร ได้ให้ของที่ระลึกแห่งการทำงานนาน (ของที่ระลึกฯ) แก่พนักงานที่อายุการทำงานครบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเสริมสร้างขวัญ กำลังใจ และก่อให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมอบในพิธีคล้ายวันสถาปนา ธนาคาร. ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของที่ระลึกแห่งการทำงานนาน ทั้งนี้ ของที่ระลึกฯ ที่มอบให้พนักงานดังกล่าวจัดทำด้วยทองคำหรือทองคำประดับเพชรแสดงสัญลักษณ์ของ ธนาคารฯ. มูลค่าตามสมควร ไม่เกินฐานานุรูปของพนักงาน เนื่องจาก ธนาคารฯ. มีเจตนาให้พนักงานเก็บไว้เป็นที่ระลึกไม่นำไปจำหน่ายจ่ายแจก กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ธนาคาร จึงขอหารือว่าการให้ของที่ระลึกฯ ในพิธีวันคล้ายวันสถาปนา ธนาคาร. ถือเป็นเงินได้ของพนักงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ และหักภาษี ที่จ่าย หรือไม่

            กรณีที่ ธนาคารฯ ได้มอบของที่ระลึกฯ ให้แก่พนักงานที่อายุการทำงานครบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มูลค่าของของที่ระลึกฯ ดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๓๙แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา ๔๐ ()แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกรณีดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ตามมาตรา ๔๒ (๒๘) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานมีหน้าที่ต้องนำมูลค่าของของที่ระลึกฯ ที่ได้รับ มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ แห่งประมวลรัษฎากร และ ธนาคาร ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ที่จ่าย ตามมาตรา ๕๐ () แห่งประมวลรัษฎากร

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,503