ซื้อที่ดินมาจากผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน

         โฉนดสามารถจำหน่าย จ่าย โอน จำนอง ขายฝาก อื่นๆ ได้ เมื่อมีการทำนิติกรรมกัน เช่น การจำนองที่ดิน ต้องมีการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงจะสมบูรณ์ และหลังโฉนดที่ดินนั้นจะระบุการทำนิติกรรมเอาไว้ ทำให้มีการตรวจสอบได้ง่าย หากท่านจะซื้อย่อมตรวจสอบได้ด้วยตนเองเลย แต่บางกรณีใช้วิธีที่ไม่ถูกต้อง เอาความง่ายเข้าว่าก็ให้โฉนดที่ดินแก่อีกฝ่ายไปยึดถือเอาไว้เลย และมักจะพบเห็นเป็นประจำคือการไปกู้เงินและนำโฉนดที่ดินเป็นหลักประกันไว้แต่มิได้จดทะเบียน โฉนดจึงมิได้ลงข้อมูลการทำนิติกรรม และเมื่อท่านซื้อที่ดินอาจทำให้มีปัญหาตามมาในภายหลังได้

          ที่ดินเป็นสิ่งที่ใครๆก็พึ่งปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของโดยเฉพาะที่ดินที่มี ทำเลที่ตั้งดี ราคาแพง ใช้สอยประโยชน์ได้ง่าย หรืออื่นๆนั้น ทุกคนก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มามีทั้งกรณีสุจริต คือซื้อขาย โอน รับมรดก เป็นต้น กลับกันก็จะมีบุคคลอีกประเภทหนึ่งใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องหรือทุจริต เพื่อให้ตนได้มา ยกตัวอย่างเช่น อ้างว่ามีส่วนได้เสียในที่ดิน ทั้งที่ตนนั้นก็มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือมีโฉนดที่ดินไว้ในครอบครอง จึงหาวิธีเพื่อให้ได้โฉนดที่ดินมา จึงไปแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินว่าโฉนดฉบับจริงนั้นสูญหาย และขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนให้ ทั้งที่จริงแล้วนั้นโฉนดมิได้สูญหาย แต่เอาความเท็จไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดิน นอกจากจะผิดศีลธรรมอันดีแล้วยังเป็นความผิดความกฎหมาย ฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานอีกด้วย กรณีที่ยกตัวอย่างนั้นมิได้ทำได้โดยง่าย เพราะเจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบหลักฐานเสมอนะครับ

          ยกตัวอย่างเช่นกรณีตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2559

          จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ทราบแล้วว่าโฉนดที่ดินพิพาทฉบับเจ้าของที่ดินอยู่ที่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับไปแจ้งว่าโฉนดที่ดินพิพาทฉบับเจ้าของที่ดินสูญหายเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทให้ จากนั้นจำเลยที่ 1 รับโอนมรดกที่ดินพิพาทแล้วนำไปแบ่งแยกเป็น 12 แปลง แล้วโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท รวมทั้งโฉนดที่ดินพิพาทที่แบ่งแยกจากที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่ดินพิพาทที่แบ่งแยกดังกล่าวไปจากจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วย เพราะรับโอนอสังหาริมทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิ และไม่เข้ากรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัติดังกล่าว

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,234