ตอนที่ 23 ลูกจ้างแจ้งลาออกกับหัวหน้างาน ไม่มีผลเป็นการลาออก
การลาออกนั้น เมื่อได้แจ้งหรือแสดงเจตนาต่อนายจ้างแล้ว
ย่อมมีผลเป็นการลาออกตามเจตนานั้นทันทีและถอนไม่ได้ แต่ปัญหาที่มักจะพบในทางปฏิบัติคือไม่รู้ว่าจะต้องแจ้งใบลาออกกับใครกันแน่ในบริษัท
เพราะตามปกติลูกจ้างก็มักจะติดต่อประสานงานกับหัวหน้างานโดยตรงของตัวเองซะเป็นส่วนใหญ่
เวลาที่จะยื่นใบลางาน ลาป่วย ลากิจ หรือ พักผ่อนประจำปี(พักร้อน) ก็มักจะแจ้งลางานผ่านหัวหน้างาน
ในบางกรณีหัวหน้างานก็หลงไปว่าตัวเองมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษลูกน้องได้ ก็เผลอไปไล่ลูกน้องออกก็เคยมี
ปัญหาก็มักจะเกิดขึ้นเวลาไปขึ้นศาล นายจ้างก็บอกไม่เคยให้ออก
หัวหน้างานไม่มีอำนาจไล่ลูกจ้างออก สู้กันไปสู้กันมา ลูกจ้างก็แพ้คดีซะงั้น
เพราะศาลมองว่าหัวหน้างานไม่มีอำนาจไล่ลูกจ้างออก
หัวหน้างานไม่ใช่ตัวแทนนายจ้างในกรณีการจ้าง
ลูกจ้างและนายจ้างจึงต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีๆ
จะได้ไม่ต้องแพ้คดีในศาล
ประเด็นว่าหัวหน้างานมีอำนาจไล่ลูกจ้างออกหรือไม่ให้พิจารณาดังนี้
1)
โดยทั่วไปหัวหน้างานไม่มีอำนาจไล่ลูกจ้างออกจากงาน
2)
มีข้อยกเว้นที่หัวหน้างานมีอำนาจไล่ลูกจ้างออกจากงานได้
คือ ได้รับมอบหมายหรือมอบอำนาจจากนายจ้างให้มีอำนาจในการจ้างหรือการเลิกจ้าง
การรับมอบหมายอาจได้รับโดยปริยายก็ได้ เช่น
นายจ้างทราบว่าหัวหน้างานการเลิกจ้างเลิกจ้างลูกจ้างแต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร
ยอมรับการกระทำของหัวหน้างานนั้นโดยการไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง หรือ บางกรณี
เช่น หัวหน้างานเคยไล่ลูกจ้างออกจากงานอยู่เป็นประจำ
นายจ้าทราบเรื่องแล้วแต่ก็ไม่ได้ว่ากล่าวตักเตือนอะไรทำให้ลูกจ้างเข้าใจว่าหัวนั้นงานนั้นมีอำนาจเลิกจ้างได้
อย่างนี้เป็นต้น
มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่
6157/2546 วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า ลูกจ้างแจ้งลาออกด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมิได้เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง
จึงไม่มีผลทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างไม่ได้ไปทำงานให้แก่นายจ้างตลอดมา
ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
By ทนายนำชัย ปรึกษากฎหมายโทร
086-3314759 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments