ตอนที่ 21 สัญญาจ้างสิ้นสุดตามกำหนดเวลา ลูกจ้างไม่ประสงค์ทำงานต่อไป นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างแรงงานโดยปกติ
ในช่วงทดลองงาน นายจ้างมักจะกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างทดลองงานเอาไว้ หรือ
แม้แต่สัญญาจ้างทั่วไป
ในบางกรณีนายจ้างก็มักจะกำหนดระยะเวลาไว้ในสัญญาจ้างอย่างชัดเจน
ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 มีผลคือ “สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า”
หมายความว่า สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้ในสัญญาจ้าง
สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของสัญญาโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบอกเลิกสัญญากันอีก
นายจ้างให้ลูกจ้างออกไปได้เลยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง
(แต่ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน)
แต่มีปัญหาคือ
ถ้านายจ้างประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างต่อสัญญากับนายจ้างและทำงานกับนายจ้างต่อไป แต่ลูกจ้างไม่ยินยอม
(ลูกจ้างไม่อยากทำงานกับนายจ้างต่อไป) ลูกจ้างจะอ้างผลของสัญญาจ้างที่สิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลา
เรียกให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่เพียงใด
เรื่องนี้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยพิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8002-8012/2549 นายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างมีกำหนดระยะเวลาจ้างซึ่งสิ้นสุดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก่อนสัญญาจ้างสิ้นสุด
นายจ้างประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าบริษัทที่ว่าจ้างนายจ้างได้ขยายระยะเวลาว่าจ้างนายจ้างต่อไปอีกจนถึงสิ้นปีให้ลูกจ้างทั้งหมดเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้างในโครงการดังกล่าวต่อไปจนครบกำหนดเวลาที่ขยายออกไป
ลูกจ้างทำบันทึกเสนอต่อฝ่ายบุคคลว่าไม่ประสงค์ต่อสัญญากับนายจ้างและคืนบัตรลูกจ้างในวันที่
15 กุมภาพันธ์ แล้วไม่ไปทำงานอีกเลย
ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นได้ว่า นายจ้างยังประสงค์จะให้ลูกจ้างทำงานต่อไป
แต่ฝ่ายลูกจ้างเองที่ไม่ประสงค์ทำงานกับนายจ้างต่อไป
กรณีถือไม่ได้ว่านายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว
สรุปว่า ถ้าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงโดยระยะเวลา
หากนายจ้างยังประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างทำงานต่อไป แต่ลูกจ้างไม่ยินยอม
ลูกจ้างจะเรียกให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เพราะศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่เป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง แต่ด้วยความเคารพในคำพิพากษาศาลฎีกา
ผู้เขียนมีความเห็นแย้งว่า เมื่อสัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างไว้แล้ว และ
กฎหมายก็ให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลานั้น เมื่อนายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาไว้
ก็น่าจะถือว่าเป็นการตกลงให้มีการเลิกจ้างไว้ล่วงหน้า และ เมื่อสัญญาสิ้นสุดก็น่าจะถือว่านายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว
ส่วนจะต่อสัญญากันต่อไปอีกหรือไม่ก็แล้วแต่ความสมัครใจของคู่สัญญา
เมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมก็จะบังคับไม่ได้ และนายจ้างก็น่าจะต้องจ่ายค่าชดเชย
เพราะสัญญาจ้างเดิมนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว
By ทนายนำชัย ปรึกษากฎหมายโทร
086-3314759 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สมมุติ คือ วันนี้แต่บริษัทไม่มีเอกสารใดๆให้เซ็นไม่มีใครมาพูดอะไร
เราไม่ต้องทำงานได้ใหม
พรุ่งนี้เราไปกรมแรงงาน จะได้รับค่าชดเชยได้ใหมในกรณีนี้
ในสัญญาจ้าง ให้ทำงาน 8 ชั่วโมง ต่อวัน
แต่ในความเป็นจริงให้ทำ 10 ชั่วโมง ต่อวัน โดยด้วยเหตุผลที่ว่าทาง บริษัทได้ทำสัญญากับเจ้าของงานไว้ว่า ทำงานให้10 ชั่วโมงต่อวัน นายจ้างจึงไม่ยอมจ่ายค่าOT ให้ลูกจ้าง
ลูกจ้างจึงต้องยอมทนทำงานจนครบสัญญา1ปี
เมื่อครบแล้วจึงไม่อยากต่อสัญญากับทางนายจ้างอีกต่อไป
ลูกจ้างควรจะได้สิทธิ์ตามกฎหมาย ได้รับเงินชดเชย 90 วันหรือไม่
ใด้พักงาน15วันหักเงิน15วันเลยนะคะให้เขียนใบลาออก28/2/63แล้วให้หยุดงาน15วันเลยหักเงินนะคะสิ้นสุดกางทำงาน31/3/63จะทำอย่งใงคะ
คำถามอีกข้อนะครับ อาจารย์มาตรา118(4)มี สามารถใช้ได้ตอนไหนครับ หรือถ้าเราเซ็นยืดสัญญาออกไปแล้ว มาตรา 118(4)ใช้ได้ไหมครับ
หรือไม่สมควรเซ็นสัญญาครับ
ขอบคุณที่ให้ความกรุณาครับ
สลิปเงินเดือนออก บริษัทจ่ายเงินเดือนของเดือนกพ 375.-เป็นเวลา1วัน พร้อมกับเงินชดเชยเราต้องได้เงินเป็น รึเป็นรายวันค่ะ