ตอนที่ 20 หากนายจ้างเลิกจ้าง ต้องแจ้งเหตุแห่งการเลิกจ้างทุกครั้ง
ปัญหายอดฮิตที่นายจ้างมักจะแพ้คดีอีกประการหนึ่งก็คือ การเลิกจ้างไม่ถูกวิธี ไม่ถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมาย บางครั้งลูกจ้างก็ทำผิดระเบียบ
แต่ทำไมนายจ้างต้องแพ้คดีในศาล ก็เพราะว่า “เวลาเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลของการเลิกจ้างไว้
หรือ แจ้งไว้แต่ก็ไม่ตรงตามเหตุที่กฎหมายกำหนด” นั่นเอง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541
มาตรา 119 วรรคท้าย กำหนดว่า “การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง
ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2550
นายจ้างมิได้แจ้งเหตุในการเลิกจ้าง
จึงไม่อาจยกเหตุที่อ้างในคำให้การและในอุทธรณ์อันเป็นเหตุตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541 มาตรา 119 ขึ้นอ้างภายหลังได้
สรุปว่า ทั้งลูกจ้างและนายจ้างขอให้จำไว้ง่ายๆว่า “การเลิกจ้างทุกครั้งต้องแจ้งเหตุผลของการเลิกจ้าง” ไม่เช่นนั้น
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างทุกกรณี
แม้ว่าลูกจ้างนั้นจะทำผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้างก็ตาม และ
การไม่แจ้งเหตุเลิกจ้างยังหมายความรวมไปถึงการแจ้งเหตุเลิกจ้างไม่ตรงกับความจริงด้วย
เพราะถ้านายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุผลใดแล้ว เวลาขึ้นศาลก็ต้องใช้เหตุผลเดิมในการต่อสู้คดีในศาลจะเปลี่ยน
หรือ เพิ่มเหตุเลิกจ้างในภายหลังไม่ได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5295/2548 ตามหนังสือเลิกจ้างอ้างเหตุเพียงว่า
ลูกจ้างไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนายจ้างอย่างเพียงพอเท่านั้น
เท่ากับนายจ้างประสงค์ถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในหนังสือเลิกจ้างเพียงประการเดียวเป็นเหตุเลิกจ้าง
ไม่ได้ถือเอาเหตุเลิกจ้างอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วยเมื่อลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย
นายจ้างจะยกเหตุอื่นขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
By ทนายนำชัย ปรึกษากฎหมายโทร 086-3314759
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer
หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments