ตอนที่ 18 นายจ้าง จะหักเงินค่าจ้างลูกจ้างไม่ได้
ในวงการแรงงาน ผมเชื่อว่า
นายจ้างทุกๆที่มีการหักค่าจ้างของลูกจ้าง
นายจ้างหลายคนรู้ว่าหักได้หรือไม่ได้และก็ทำอย่างถูกต้องบ้าง ไม่ถูกต้องบ้าง นายจ้างหลายคน
ไม่รู้ว่าหักได้หรือไม่ได้แต่ก็หัก ส่วนลูกจ้างนั้น เกือบ 100% ไม่รู้ว่านายจ้างหักค่าจ้างของตนได้หรือไม่ รู้แต่ว่าเขาหักไปแล้ว
แม้จะทุกข์ทรมานใจแค่ไหนก็ได้แต่จำทน ทนไม่ได้ก็ลาออกไปเท่านั้นเอง
เรามาดูกฎหมายแรงงาน
ว่านายจ้างหักค่าจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างได้หรือไม่อย่างไร
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 กำหนดว่า “ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง
ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ”
เห็นมั๊ยครับ กฎหมายขึ้นต้นด้วยคำว่า “ห้ามไม่ให้นายจ้างหักค่าจ้าง”
เว้นแต่เป็นการหักเพื่อกิจกรรมดังต่อไปนี้
(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมาย
บัญญัติไว้ อันนี้หักได้อยู่แล้วเพราะหักชำระภาษีตามกฎหมาย
(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
อันนี้ก็ต้องไปดูว่ามีข้อบังคับของสหภาพแรงงานให้หักได้หรือไม่
(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว
โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง อันนี้หักได้ 2 กรณีคือ
ก)
หักชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์หักได้ตามข้อบังคับสหกรณ์
ข) หักชำระหนี้อย่างอื่นที่หนี้นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างฝ่ายเดียว
เช่น ถ้านายจ้างมีสวัสดิการให้ลูกจ้างกู้เงินโดยไม่มีดอกเบี้ย หรือ
อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงิน
อย่างนี้หักได้แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างล่วงหน้า
(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง
ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
อันนี้มี 2 กรณีคือ
ก)
หักเงินประกันในกรณีที่นายจ้างมสิทธิหักเงินประกันการทำงานได้ และ
ข) หักชำระค่าเสียหาย ซึ่ง
กรณีหักชำระค่าเสียหายนี้ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นครั้งคราวไป
จะให้ลงชื่อไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดความเสียหายไม่ได้
(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม อันนี้
เป็นการหักเพื่อชำระกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้า
(20%) ของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา
70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2548
แม้ลูกจ้างทำหนังสือยินยอมให้นายจ้างหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายที่สามีลูกจ้างกระทำละเมิดไว้แก่นายจ้าง
นายจ้างก็ไม่อาจหักค่าจ้างของลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14036/2555
แม้จะมีกฎหมายบัญญัติว่าห้ามนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างก็ตาม
แต่การที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์ (ลูกจ้าง)
เนื่องจากโจทก์ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ไม่เชื่อฟัง
แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบ และ
ธรรมเนียมของบริษัท ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่การทำงาน
ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงาน ด้วยการตัดค่าจ้างของเดือนกันยายน 2548
ในอัตราร้อยละ 10 นั้น การลงโทษของจำเลย (นายจ้าง)
ไม่ใช่การหักค่าจ้างโจทก์(ลูกจ้าง)
แต่เป็นการลงโทษตามวินัยการทำงานซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ทั้งไม่ปรากฏว่าคำสั่งตัดค่าจ้างของจำเลยดังกล่าว เป็นคำสั่งลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ คำสั่งลงโทษดังกล่าว
จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
สรุปคือ โดยหลักการใหญ่แล้ว นายจ้างจะหักค่าจ้างลูกจ้างไม่ได้นะครับ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นต่างๆมากมายหลายประการที่ได้นำเสนอตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
By ทนายนำชัย ปรึกษากฎหมายโทร
086-3314759 หรือ
แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
1. วันที่30ซื้อปาล์มได้ ค้าง1 คืนไม่ขนไปโรงงาน
2.วันที่1 ลานปิด พนักงานโรงงานมาตรวจ ปกติ
3.วันที่2 ชื้อปาล์มปกติ 18:30 ขนปาล์ม2 วัน คือ30และ02 เข้าโรงงาน
4.ปาล์มน้ำหนักขาด หายไป ให้พนักงานจ่ายเงิน ทั้งหมด ลดไป10% ตามกฎหมาย
5.โรงงานแจ้งเฉลี่ยคนละ7,000 พันบาท
6.ค่าจ้าง วันละ320 หักประกันสังคมวันละ16 บาท .
ทั้งหมดนี้ คือ ยุติธรรม แล้วใช่ไหมค่ะ
นายจ้างสามารถหักได้ไหมคะ
ต้องแจ้งพนักงานเพื่อทราบและให้ความยินยอมหรือไม่
โดนหักเซอร์วิสชาร์ท 848.07บาท
หักค่าแรง ชี้แจ้งว่าหักในสลิป
แต่เซอร์วิสชาร์ท ไม่มีชี้แจ้งในสลิป
แบบนี้หนุฟ้องกรมแรงงานได้หรือไม่
เเละถ้าหากมาสาย 3วันติดกัน จะโดนตัดค่าเเรงเพิ่ม 1 แรง จากที่ตัดมาสายในเเต่ละวันอยู่เเล้ว เเล้วต้องมาโดนตัดค่าเเรงเพิ่มอีก1แรง ผิดกฎหมายมั้ยคะ หรือสามารถหักได้ ?
#ขอบคุณคะ
เดือน20%(ไม่รวมหักสวัสดิ์การ)บ.ประกาศให้วันหยุดเพิ่มอีก1วันต่อสัปดาห์ แต่หักเงินเดือน20%โดยไม่มีการเซ็นยินยอมในการหักเงินเดือน บ.สามารถทำแบบนี้ได้ไหมคับ บ.ทำผิดหรือทำถูกต้องตามกฏหมายคับ
ลากิจ,มีธุระสำคัญแบบนี้ถ้าคนงานพักยุ่ใน
แคมป์หยุดงานโดยที่บริษัทที่เราไปทำไม่ได้สั่งหยุดแต่หยุดเองอย่างงี้ บางคนป่วยไปไม่ได้
หยุดเจ้าของชัฟสามาถรหักเงินค่าแรงเราได้หรอวิคล่ะ1000เค้าบอกหักค่าห้องมันใช่หรอคนป่วยยังจะหักมันได้หรอคับตอบทึกราบล่ะ
นายจ้างจะตัดค่า...ที่กล่าวมาได้หรือไหมครับที่ไม่เกี่ยวกับเงินเดือนและนายจ้างให้ผมลาออกจากการเป็นสหภาพแรงงานผมขอคำตอบขอปรึกษาหน่อยครับ
ในกรณีเช่นนี้สามารถเอาผิดนายจ้างได้หรือไม่ครับ...และต้องทำอย่างไรคับ
ตกลงว่าเข้างาน 8.00-17.00น.แต่พอเริ่มงานจริงๆเราต้องมาเข้างาน8.00.เราต้องรอไปรับงาน(15.30-17.30)
แล้วมาค้างส่ง.เช้าอีกวัน(ส่งตอน6โมงเช้า)
*โดยที่ไม่ได้ OT.
แบบนี้นายจ้างผิดกฎหมายแรงงานหรือป่าวครับ.
**เราสามารถฟ้องร้องเอาค่าเสียหายได้หรือป่าวครับ.