3 วิธียอดนิยม ในการกู้ยืมเงินกันโดยใช้ที่ดินหรือโฉนดที่ดินเป็นหลักประกัน

          เมื่อสภาพเศรษฐกิจบ้านเมืองปัจจุบันซบเซาลง หลายคนคงประปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน  สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการกู้หนี้ยืมสิน ซึ่งวันนี้ผมจะมาพูดถึงการกู้ยืมเงินกันโดยใช้ที่ดินเป็นหลักประกันนั้น โดยทั่วไปมักนิยมทำกัน มี 3 วิธี คือ 

          1. การขายฝาก ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้ให้กู้ได้เปรียบที่สุด เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้ให้กู้ (ผู้รับซื้อฝาก) ทันที ผู้กู้(ผู้ขายฝาก) มีสิทธิเพียงมาไถ่ถอนทรัพย์สินคืนภายในกำหนดเท่านั้น ถ้าไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนดก็หมดสิทธิในที่ดิน ที่ดินย่อมกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้กู้อย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ดีวิธีการนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กรมที่ดินเป็นจำนวนมากกว่าวิธีอื่น

             2.  การจำนอง วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีที่นิยมกัน โดยการจำนองนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงอยู่ที่ผู้กู้ (ผู้จำนอง) โดยผู้ให้กู้ (ผู้รับจำนอง) จะมีที่ดินเป็นหลักประกันให้อุ่นใจ หากผู้กู้ยืมผิดนัด ผู้ให้กู้ก็มีสิทธิฟ้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองได้ อีกทั้งผู้จำนองยังมีฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิในที่ดินที่จำนอง มีสิทธิเหนือเจ้าหนี้คนอื่นๆในที่ดินแปลงที่ผู้กู้จำนองไว้  แต่วิธีการนี้ก็มีข้อเสียก็คือต้องเสียเวลาในการยื่นฟ้องคดีเป็นเวลานานกว่าจะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองได้

          3. การกู้ยืมเงินโดยผู้กู้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้  โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการแบบที่ชาวบ้านนิยมทำ ซึ่งกฎหมายมิได้เขียนรองรับไว้ โดยข้อเสียของวิธีการนี้มีหลายประการเช่น  ผู้กู้สามารถไปแจ้งว่าโฉนดที่ดินหายแล้วก็ไปขอออกโฉนดใหม่ต่อกรมที่ดิน จากนั้นก็ไปนำโฉนดฉบับใหม่ไปขาย โดยที่ผู้ให้กู้ไม่มีโอกาสรู้  และหากผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้ก็จะต้องฟ้องคดีซึ่งจะต้องใช้เวลานาน และในการส่งมอบโฉนดที่ดินเช่นนี้ผู้ให้กู้จะไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเหนือที่ดินเหมือนเจ้าหนี้จำนอง คงมีสิทธิเท่าๆกับเจ้าหนี้คนอื่นๆเท่านั้น อีกทั้ง เจ้าหนี้คนอื่นๆของลูกหนี้อาจมายึดไปชำระหนี้ได้ โดยผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิมาโต้แย้งคัดค้าน เพียงแต่จะมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เท่านั้น

           ทั้งนี้ การกู้ยืมเงินกันในระดับชาวบ้านหรือนายทุนท้องถิ่นส่วนใหญ่ ไม่นิยมไปจดทะเบียนจากขายฝากหรือจำนองที่กรมที่ดินกันสักเท่าไหร่  เพราะสาเหตุหลายประการ เช่น เห็นว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นเงินจำนวนไม่น้อย บางครั้งเป็นการกู้กันในระยะสั้น จึงไม่อยากจะจดทะเบียนให้เสียเงินค่าธรรมเนียม หรือเป็นการกู้ยืมเงินระหว่างเพื่อนฝูงญาติมิตร จึงไม่อยากไปจดทะเบียนจำนองหรือขายฝากกันที่กรมที่ดินให้เสียเวลา เพราะมีความไว้วางใจกัน ดังนั้นวิธีการกู้ยืมเงินโดยการส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่กันไว้  จึงเป็นที่นิยมกันมาก

         แต่เนื่องจากการกู้ยืมเงินด้วยการส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่กันไว้ มีช่องโหว่ที่ผู้กู้อาจไปขอออกโฉนดใหม่ได้ข้างต้น และการติดตามทวงหนี้สินก็ต้องทำการฟ้องร้องคดีต่อศาล ซึ่งจะต้องใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย และเจ้าหนี้อื่นๆอาจมายึดที่ดินไปเสียก่อนผู้ให้กู้ได้ ดังนั้นบรรดานายทุนเงินกู้จึงได้คิดวิธีการแบบใหม่ขึ้นมา โดยนอกจากจะให้ผู้กู้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่ตนเองแล้ว ยังให้ผู้กู้ทำหนังสือมอบอำนาจขายที่ดินให้แก่ตัวเองด้วยเสียเลย โดยมีข้อตกลงว่าหากผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้ก็เอาหนังสือมอบอำนาจไปโอนที่ดินเป็นของตนเองทันที  ซึ่งวิธีการดังกล่าวนั้นมีประโยชน์มากกับผู้ให้กู้ เพราะค่าธรรมเนียมจดทะเบียนต่อกรมที่ดินก็ไม่ต้องเสีย ไม่ต้องฟ้องบังคับคดีให้ยุ่งยาก  ถึงกำหนดเวลาผู้กู้ไม่จ่ายก็โอนที่ดินเป็นของตนเองเลย 

            แต่ตามกฎหมายแล้ว วิธีดังกล่าวไม่อาจใช้ได้ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 656 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า  “ ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกันและผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือ ทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไป เพราะการชำระเช่นนั้นท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาด แห่งสิ่งของ หรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ “ซึ่งตามวรรคสาม ของมาตรา 656 ได้บัญญัติไว้ด้วยว่า "ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดั่งกล่าวมานี้ท่านว่าเป็นโมฆะ"

            ซึ่งหมายความว่า ในการชำระหนี้เงินกู้นั้น หากผู้กู้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ด้วยเงิน แต่ขอชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินแทน หากผู้ให้กู้ยอมรับทรัพย์สินที่ผู้กู้ส่งมอบนั้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะต้องตีราคาทรัพย์สินที่ผู้กู้ใช้ชำระหนี้ตามราคาท้องตลาด ณ. เวลาและสถานที่ ที่ทำการส่งมอบทรัพย์สิน โดยทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเป็นเงินเท่าใด ก็จะถือว่าผู้กู้ชำระเงินให้แก่ผู้ให้กู้เท่านั้น หากทรัพย์สินนั้นมีราคาน้อยกว่าหนี้เงินกู้ ผู้กู้ก็ยังคงเป็นหนี้ผู้ให้กู้อยู่เท่าส่วนต่างที่ยังขาดอยู่ แต่หากทรัพย์สินนั้นมีราคามากกว่าหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้ก็ต้องชำระเงินส่วนต่างคืนให้แก่ผู้กู้     คู่สัญญาจะทำการตกลงกันเองว่า ให้โอนทรัพย์สินแทนการชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมด โดยไม่ต้องตีราคาทรัพย์สินตามราคาท้องตลาด ณ. เวลาและสถานที่ ที่ทำการส่งมอบทรัพย์สินมิได้ ทั้งนี้เหตุผลที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้ผู้กู้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ และเพื่อมิให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเพราะเหตุแห่งความเคลื่อนไหวของราคาทรัพย์สินที่ส่งมอบแทนเงิน

           ตัวอย่างเช่น นาย เอ. เป็นหนี้เงินกู้ นาย บี. อยู่ หนึ่งล้านบาท  ต่อมานาย เอ. ส่งมอบที่ดินแปลงหนึ่ง ให้ผู้กู้เพื่อเป็นการชำระหนี้ และนาย บี.ยอมรับที่ดินแปลงนั้นไว้ เช่นนี้ นาย เอ. และนาย บี. จะตกลงกันว่า หนี้เงินกู้ทั้งหมดจำนวนหนึ่งล้านบาทระงับไปเลยเมื่อนาย เอ. โอนที่ดินให้นาย บี. ไม่ได้ แต่ นาย เอ.และนาย บี. จะต้องตีราคาที่ดินแปลงนั้นเท่ากับราคาท้องตลาด ณ วันที่ทำการโอนที่ดินและสถานที่ที่ทำการโอนที่ดิน และหากว่าราคาที่ดินแปลงนั้นมีราคา เจ็ดแสนบาท หนี้เงินกู้ก็จะระงับไปเพียงเจ็ดแสนบาท นาย เอ. ก็ยังคงเป็นหนี้นาย บี. อยู่เป็นจำนวน สามแสนบาท ยกเว้นแต่นาย บี.จะตกลงว่าให้ถือว่าหนี้เป็นระงับไปเลย นาย เอ.ไม่ต้องชำระหนี้ส่วนที่เหลือ หนี้ทั้งหมดย่อมระงับไปเพราะถือเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ส่วนที่เหลือตามกฎหมายลักษณะหนี้มาตรา 340  แต่หากว่า ที่ดินแปลงนั้นมีราคาหนึ่งล้านห้าแสนบาท นาย บี.ก็จะต้องคืนเงินส่วนต่างให้นาย เอ. จำนวน ห้าแสนบาท                                                                                  ดังนั้น   หากผู้กู้นำโฉนดที่ดินพร้อมหนังสือมอบอำนาจมาส่งมอบให้ผู้กู้ โดยมีข้อตกลงว่าหากผู้กู้ผิดนัด ยินยอมให้ผู้ให้กู้โอนที่ดินให้เป็นของผู้ให้กู้ได้ทันที โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดินพิพาทว่าจะเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบคือเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง และย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธินำหนังสือมอบอำนาจไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นของตนเอง และหากผู้ให้กู้จัดการโอนที่ดินไปเป็นของตนเองแล้ว ผู้กู้ก็มีสิทธิฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินได้  ( คำพิพากษาศาลฎีกาที่ . 142/255017099/2555 )

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: ปู [IP: 1.46.11.xxx]
เมื่อ: 2018-08-21 21:58:29
ดีคร่
#2 โดย: อ้วน [IP: 1.46.11.xxx]
เมื่อ: 2018-08-21 22:12:10
หนูมีคำถามค่ะ
คือว่าแม่หนูไปกู้เงินจากนายทุนเอาโฉนดที่ดินไปค้ำประกันไว้แต่ต่อมาแม่ได้ไปยืมโฉนดมาเพื่อที่จะกู้เงินทางธนาคารทำเรื่องจำนองเสร็จทางธนาคารก้อบอกว่าเงินไม่ได้โฉนดก้อไม่ได้คืนเพราะแม่เป็นไว้อยู่โฉนดเก่าราคาตกลงเรยทำให้หลักทรัพย์ไม่พอที่จะกู้ แม่ก้อขอโฉนดคืนแต่ก้อไม่ได้เพราะทำเรื่องจำนองไว้เเล้ว เรยเอาออกไม่ได้ เเต่ตอนนี้นายทุนคนนั้นจะมาเอาเรื่องกับแม่หนูหาว่าแม่ยักยอกทรัพหนูกับแม่จะทำไงดีคร่ช่วยตอบหน่อยคร่
#3 โดย: หมีมีหม้อ [IP: 49.229.108.xxx]
เมื่อ: 2018-09-21 00:09:07
น้องไปกู้และจำนองอยู่กับนายทุนที่จริงน้องกับแม่ต้องผ่อชำระและโอนคืนก่อนนะ พอพ้นภาระหนี้แล้วค่อยไปจดจำนองกดธนาคาร...
#4 โดย: เรียม [IP: 203.145.118.xxx]
เมื่อ: 2019-05-15 08:55:21
รบกวนสอบถามค่ะ ย่าเสียชีวิตมีโฉนด 1 แปลงที่ยังไม่ได้แบ่ง มีลูก 6 คน ลูกคนที่ 1 เสียชีวิต ลูกคนที่ 3 ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก ลูกคนที่ 6 ได้นำโฉนดที่ดินนี้ไปให้เจ้าหนี้เพื่อกู้เงิน และใช้เป็นหลักประกันเงินกู้
ตอนนี้ ผู้จัดการมรดกได้มาทวงถามโฉนดเพื่อนำไปจัดสรร ลูกคนที่ 6 ที่นำโฉนดไปค้ำประกันเงินกู้ ไม่เคยจ่ายเงินด้นและดอกให้เจ้าหนี้เลยเป็นเวลาหลายปี
คำถาม
1. เจ้าหนี้สามารถยึดที่ดินได้หรือไม่
2. หากคืนโฉนดให้ผู้จัดการมรดก เจ้าหนี้ต้องได้เงินส่วนที่ให้กู้ ก่อนนำไปแบ่งหรือไม่ ( หากเป็นการนำไปขายแล้วแบ่งทรัพย์ )
3. ผู้จัดการมรดก สามารถไปแจ้งความโฉนดหายแล้วออกโฉนดใหม่เพื่อนำมาแบ่งทรัพย์ได้หรือไม่ (กรณีการกู้เงินแบ่งให้โฉนดยึดไว้)
#5 โดย: Junjour [IP: 223.24.169.xxx]
เมื่อ: 2019-08-10 08:57:31
สอบถามหน่อยครับ น้าผมไปกู้ ธกส. เอาโฉนด A จำนองไว้ ในระหว่างนั้นได้ขายโฉนด B ให้ผมพร้อมโอนเรียบร้อย ต่อมา ธกส.ฟ้องจะยึดทรัพย์ในกรณีกู้โฉนดเล่ม A แต่สินทรัพย์ไม่พอ ศาลบอกสามารถยึดโฉนด B ได้ จริงหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
#6 โดย: ขวัญใจ [IP: 110.77.184.xxx]
เมื่อ: 2019-08-21 18:30:20
สอบถามหน่อยค่ะ.....คือว่าหนูไปกรมบังคับคดีมาไปประมูลบ้านที่โดนยึดแล้วเขาขายทอดตลาดค่ะ วางเงินไปแล้วจำนวนนึง และยังเหลืออีกจำนวนนึงเยอะพอสมควรค่ะ แต่เงินไม่พอ มีเงินมาวางมัดจำอย่างเดียว เขาให้เวลา 3 เดือนค่ะ ก็เลยให้กรมบังคับคดีถ่ายเอกสารสำเนาโฉนดที่ดินต่างๆแต่โฉนดที่ดินตัวจริงอยู่ธนาคารออมสินเพราะเขาบอกให้ไปยื่นเรื่องที่ไหนก็ได้เราไปที่ธนาคารใกล้บ้าน แล้วเขาบอกว่าให้เอาเงินไปชำระที่เหลือหมดแล้วเอาโฉนดที่ดินตัวจริงมา ซึ่งเราคิดว่าจะไปเอาเงินมาจากที่ไหน ก็จะอยากให้ธนาคารช่วยหน่อยคะ ให้ติดต่อไปที่ธนาคารออมสินค่ะ หนูไม่รู้จะทำยังไงแล้วค่ะ ไปมาหลายที่แล้ว ไฟแนนซ์ก็ไปมา ธนาคารทุกธนาคาร ขอให้หนูกู้สินเชื่อผ่านนะคะ ช่วยหนูด้วยค่ะ
#7 โดย: ชวาล ลูม่ [IP: 49.230.62.xxx]
เมื่อ: 2019-12-01 23:06:15
สอบถามครับพ่อแม่มีลูกสองคนต่อมาย่ายกที่นาให้พ่อแม่ย่าก็ตายที่ดินที่ยกให้พ่อแม่ห้าแปลงพ่อก็ตายทายาทอีกคนก็ตายไปแต่มีลู่สองคนก่อนแม่จะตายใด้ทำพินัยกรรมใหหลานสองคนสามแปลงอีกสองแปลงไม่ใด้ทำพินัยกรรมที่ไม่ใด้ทำพินัยกรรมตกเป็นของทรายาทอีกคนไหมครับ
#8 โดย: แนท [IP: 171.96.232.xxx]
เมื่อ: 2020-06-02 15:38:13
รบกวนสอบถามค่ะพอดีว่าพ่อไปกู้ยืมเงินนายทุนมาจำนวนหนึ่งเค้าให้ทำสัญญาซื้อขาย พ่อก็ทำสัญญาแต่ที่ดินของพ่อเป็นที่ดินสปก.แต่ในใบสัญญาซื้อขายเขียนเป็นภบท.5 หนูเลยสับสนว่าอบต.เปลี่ยนที่ดินสปก.เป็นที่ดินภบท.5ได้ด้วยหรือค่ะ
#9 โดย: ทนายความชี้นำกฎหมายผู้ขาย/ผู้ชื้อฝาก/นายหน้า/ใครครวนโดนฟ้องรึวิทีไหนตอบผมทีครัป/ผิดคือผิด/ถูกจะทำให้ [IP: 27.55.67.xxx]
เมื่อ: 2020-08-12 06:58:47
#เวลานี้กระผมคิดๆว่าจะมีผู้มีวิชา.ช่วยแนะนำชี้ทางให้คนจนสู้ขบวนโกงที่เป็นระบบ(นายหน้ามาล้อลวงชื่อที่.แบบใด้แค่รอเซ็น)#แต่มันมีสาเหตุ/แบบว่าตอนวันจะจ่ายเงิน(นางปริชาติ รอดอุต. ต้อมนายหน้าแนะนำขาย-ฝากที่ดิน 29 ต.รางวา..3แสนบาทโอ๊ยๆๆบ่อเอาหรึกสุดท้ายจบTHAI. COM. 18มงกุต&สรุปเงินขายที่ผม นางต้อมเล่นจัดการรับชื่อฝากที่ดินเองเลย4แสนบาทอะครัปทำเรื่องวันต่อมาที่กรมที่ดินเรียบร้อ
#10 โดย: kim [IP: 104.131.39.xxx]
เมื่อ: 2020-09-20 14:08:36
เราให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อธุรกิจด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพียง 5% ต่อปี แต่คิดเป็นรายเดือน เราทำงานทั้งในและต่างประเทศแหล่งเงินทุนของเราเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการของคุณสำหรับการขยายการเติบโต ฯลฯ ติดต่อเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม: {helpdesk@theskybankco.com}
โปรดเยี่ยมชมที่อยู่เว็บของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม: https://theskybankco.com

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง,
นางคิม
#11 โดย: Nean [IP: 223.24.185.xxx]
เมื่อ: 2020-10-05 10:15:28
สอบถามค่ะ​ มี่ที่ดินเปล่า5ไร่2งาน69​ตรว.จะกู้เงินกับธกส.ได้ไหมคะ
#12 โดย: วง [IP: 27.55.72.xxx]
เมื่อ: 2020-10-14 04:59:39
สอบถามหน่อยคับ
กรณีแม่กับพ่อผมไปกู้เงินมา50000
โดยผู้ให้กู้เขาได้ดอกเดือนละ10000เป็นจำนวน3เดือนแล้วแมากับพ่อธุกิจเจ้งแต่แม่ก็คืนต้นไปแล้ว20000แต่ทีเหลือแม่ผมไม่ได้ส่วเพราะต้องทำมาหากินเลี้ยงลูกเพราะไม่มีเงินที่จะส่งต้นต้องเริ่มนับ1ใหม่ต่อมาเวลาผ่านไปประมาน15-20ปีทางเจ้าหนี้มาเรียกเงินจำนวน150000ถ้างั้นก็ให้แม่มาโอนโฉนดที่ดินให้จะให้10000ตอนแม่ไปกู้เขาได้เอาโฉนดวางใว้กับเจ้าหนี้พร้อมเซ็นเอกสารอะไรสักอย่างแบบชาวบ้านโดยไม่ใช่การจำนองจำนำแค่เกียวกับการกู้ สุดท้ายเจ้าหนี้ไม่รอได้ทำการ บุกรุกถมที่และทำลายทรัพย์ในที่ดินแม่ผมกรณีนี้แม่ผมมีสิทธิ์สู้ได้มัยคับ ขอคำตอบจากผู้รู้หน่อยคับ
#13 โดย: วง [IP: 27.55.72.xxx]
เมื่อ: 2020-10-14 05:07:59
ตอนนี้แม่เป็นมะเร็งผมต้องการเอาโฉนดหรือขอโฉนดคืนเพื่อจะเอาเข้าธนาคารเอาเงินมาใช้หนี้เขาจำนวน30000ที่ค้างใว้เพราะเขาเหมือนมาร่วมลงทุนด้วยโดยได้ค่าตอบแทนเดือนละ10000แต่พอธุกิจเจ้งเขาไใ่ยอมเจ้งด้วย ผมพอจะมีทางสู้ใหมคับช่วยให้คำตอบเอาบุญด้วกันคับ พอดีอีก4-5วันผมจะไปเจรจาไกล่เกลี่ยแต่ไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่าไร เพื่อผมจะได้มีเงินมารักษาแม่เพราะตอนนี้ครอบครัวเราเดือดร้อนมากหากินวันต่อวันต้องขอข้าวก้นบาตรวัดกินเพระต้องประหยัดเพื่อสำรองค่ายาต้านมะเร็งมีสมบัติคือโฉนดติดแค่30000จะเอาเป็นแสนฉลาดจะโกงแม้กระทั้งคนป่วยช่วยชี้ทางด้วยคับ
#14 โดย: aum [IP: 171.100.58.xxx]
เมื่อ: 2020-11-14 10:11:35
สอบถามคะ
กรณีแม่เอาที่ดินไปจำนองกับนายทุน10000โดยที่แม่ไม่ไปส่งดอกเบี้ยเลย7ปีทำให้เบี้ยบวกเงินต่นรวมกันเป้นแสนเราสามารถเราที่ดินที่จำนองไว้กับนายทุนเอาไปเข้าธนาคารได้มัยคะแล้วผ่อนชำระกับธนาคารเอา รบกวนหน่อยนะคะ
#15 โดย: อุเทน ยุบไธสง [IP: 223.206.246.xxx]
เมื่อ: 2020-11-20 12:06:51
แฟนเอาฉโนดที่ดินไปออมสินเอาเง้นทำบัานผมเซ็นคำ้ให้เลิกกันผมผมจะเปี่ยนชื่อผัวไหม่เขาได้ไหม
#16 โดย: มะลิวรรณ [IP: 49.230.206.xxx]
เมื่อ: 2020-12-04 10:40:40
สอบถามหน่อยคะ่หนุไปไถ่โฉนดของน้าออกจากหนี้นอกระบบประมาน1แสนหนุต้องทำสัญญาไหมคะ่แบบฟอรม์ไหนถึงจะถุกและตัวหนูเองต้องเก้บโฉนดไว้ไหมขอความรุ้หน่อยคะ
#17 โดย: 333 [IP: 182.232.185.xxx]
เมื่อ: 2020-12-06 09:49:10
โฉนดเป็นชื่อยายแต่เขาเสียไปแล้วสามารถเอาไปกุ้ได้ไหมค่ะโดยไม่ต้องเปลี่ยนชื่อโฉนดอะ
#18 โดย: สุรศักดิ์ฺ ประทุัม [IP: 223.24.188.xxx]
เมื่อ: 2021-02-09 03:18:39
แม่ของผมท่านเอาฉโนดที่ดินไปจำกับนายทุนในราคาเท่าตัวและมีหนังสือสัญญาโดยการให้ที่ดินตีราคาให้ในราคาประเมิน 650000 บาท และได้เสียค่าทำเนียมตามระบบ แต่ทางแม่ผมท่านได้กุู้ยืมมาใน ราคา 330000 บาท คำถาม ถ้าเราจะเอาฉโนดไปกู้ใหม่กับธนคารได้ไหมครับ เพื่อให้เราผ่อนจ่ายต่อเดือนน้อยลง
#19 โดย: ทนาย [IP: 223.24.184.xxx]
เมื่อ: 2021-04-25 23:11:57
สอบถามค่ะ. ถ้าเอาโฉนดที่ดินไปเข้าไฟแนนท์ แล้วทะเบียนบ้านเราจะมีสิทธ์ใช้รึป่าว
#20 โดย: เยาวเรศ [IP: 182.232.214.xxx]
เมื่อ: 2021-05-02 11:45:17
ดีค้ะ อยากรุ้ค้ะโฉนดที่ดินพึ่งได้ทำเป็นหนังสือพึ่งออกหัยไม่ถึง3เดือนถ้าไปจำนองกับที่อื่นเค้าจะออกอนุมัติทางคอมได้กี่เดือนกี่ปีค้ะ
#21 โดย: pichetsuktha.1979@gmail.com [IP: 125.25.122.xxx]
เมื่อ: 2023-04-25 13:30:25
พ่อแม่นำโฉนดที่ดินไปกู้ ธกส พ่อเสีย แล้วนำเงืนไปปิดยอดเงินกู้ทั้งหมด แล้วบิลปิดยอดเงินกู้ทั้งหมด เพื่อเอาโฉนดที่ดินออกจากกรมที่ดิน แล้วทำไมต้องให้ลูกไปเซ็นด้วย ในตอนทำสัญญา ทำพ่อกับแม่ครับ
ขอบคุณครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,428