สัญญาก่อสร้าง ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ ก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้

การที่เราจ้างผู้รับเหมาสร้างบ้าน แต่ผู้รับเหมาก่อสร้างผิดแบบแปลน ส่งมอบล่าช้า ใช้อุปกรณ์ หรือสิ่งของที่ไม่ต้องให้ตรงตามสเปค ถึงแม้ข้อตกลงเหล่านี้เราไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ท่านก็ฟ้องคดีได้

เนื่องจากสัญญาที่ผู้ว่าจ้าง จ้างผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน  ตึกที่มีขนาดสูง โรงเรียน โรงพยาบาล ตกแต่งภายใน หรือการกระทำที่มีลักษณะ ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ และมีข้อตกลงว่าผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างหรือค่าตอบแทน แห่งผลสำเร็จนั้น ถือเป็นสัญญาจ้างทำของทั้งสิ้น กฎหมายกำหนดไว้ว่าไม่ต้องทำเป็นหนังสือก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้

เมื่อผู้รับเหมาก็สร้าง และมีความชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงแบบที่ตกลงกันไว้ในขณะที่ทำสัญญา ใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกสเปค  และผู้ว่าจ่างได้สั่งให้แก้ไข ซ่อมแซมให้ถูกต้องตามสัญญา แต่ผู้รับเหมาละเลยไม่แก้ไข แถมยังทิ้งงานปล่อยให้ผู้ว่าจ้างต้องไปหาผู้รับจ้างหลายอื่นมาแก้ไขงาน หากเกิดปัญหาแบบนี้ ท่านสามารถฟ้องให้ผู้รับเหมาชดใช้ค่าเสียหายต่างๆได้ ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่อย่างใด สามารถนำพยานบุคคลเข้าสืบ เพื่อให้ได้ความจริงก็เพียงพอแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6314/2550

เมื่อโจทก์ทำงานงวดที่สองชำรุดบกพร่องไม่ถูกต้องตามสัญญาจ้าง และจำเลยได้ให้โจทก์แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนแต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมแก้ไข โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยถือว่าเป็นการเลิกกันโดยปริยาย สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่เนื่องจากโจทก์ได้ทำงานงวดที่สองให้จำเลยเสร็จแล้วจึงไม่อาจให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ กรณีต้องบังคับตามมาตรา 391 วรรคสาม จำเลยต้องใช้เงินค่าก่อสร้างในงวดที่สองให้แก่โจทก์แทน จำเลยไม่มีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างเสียทั้งหมด เมื่องานของโจทก์มีสิ่งบกพร่องและจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์แก้ไขสิ่งบกพร่องให้เป็นไปตามสัญญา แต่โจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยชอบที่จะว่าจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งบกพร่องดังกล่าวได้ โดยโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 594 และจำเลยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเท่าที่เสียไปจากค่าจ้างของงานงวดที่สองเท่านั้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง >>>>  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อ ผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มติดต่อกลับ

#1 โดย: อ.ป.ท. [IP: 113.53.214.xxx]
เมื่อ: 2018-09-24 03:32:52
กรณีนี้สามารถเอาผู้รับเหมารายถัดไปมาทำงานต่อได้หรือไม่อย่างไ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,589