ตอนที่ 15 เลิกจ้างเพราะไม่ผ่านการทดลองงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย และ จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
มีเรื่องที่นายจ้างและลูกจ้างหลายต่อหลายคนเข้าใจผิดมาตลอดว่า
ลูกจ้างตามสัญญาทดลองงานนั้น เมื่อเลิกจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ค่าตกใจ”
ตามกฎหมายแรงงาน
“ไม่มีคำว่าลูกจ้างทดลองงาน” นายจ้างเอาคำๆนี้มาใช้กันจนชินและจดติดปาก
ตามกฎหมายแรงงาน ไม่ว่าจะใช้ชื่อลูกจ้างนั้นว่าอย่างไร กฎหมายให้ถือว่า เป็น
“ลูกจ้าง” ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแรงงานทุกประการ และ
กฎหมายห้ามไม่ให้นายจ้างเลือกปฏิบัติ
สำหรับลูกจ้างทดลองงาน
ก็ถือเป็นลูกจ้างตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 เช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างทดลองงาน
นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ
ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ดังนี้
1) หากสัญญาจ้างทดลองงานไม่ได้กำหนดเวลาไว้ชัดเจนว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด
หรือมีระยะเวลากำหนดไว้แต่มีข้อตกลงในสัญญาจ้างทดลองงานนั้นว่าให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ก่อนสัญญาจ้างทดลองงานสิ้นสุดลง
กรณีนี้หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างทดลองงาน
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย (อย่างน้อยเป็นจำนวนเท่ากับหนึ่งรอบการจ่ายค่าจ้าง
เช่น ถ้าจ่ายค่าจ้างทุกรอบ 15 วัน
ก็ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 15 วัน หรือ
หากจ่ายค่าจ้างทุกรอบหนึ่งเดือน
ก็ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งเดือน) หมายเหตุ
หากนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็น อาจต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้ามากกว่านี้ ส่วนจะเป็นเท่าใดเอาไว้คุยกันหลังไมค์นะครับ
2) หากสัญญาจ้างทดลองงานนั้น
กำหนดระยะเวลาไว้ตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป นอกจากนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว ตาม
1) แล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
ส่วนค่าชดเชยจะต้องจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด
ก็ดูอายุงานของลูกจ้างนั้นเป็นหลักในการคำนวณนะครับ ให้ไปดู พรบ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541 มาตรา 118
ทั้งนี้ เทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2544 สงสัยประการใดอยากสอบถามเพิ่มเติม พบกันหลังไมค์นะครับ
By ทนายนำชัย พรมทา
ปรึกษากฎหมาย โทร 086-3314759
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments