ผู้ใดยินยอมให้นำชื่อ-สกุลเป็นชื่อห้างหุ่นส่วน ผู้นั้นต้องร่วมรับผิดกับห้างฯ

                กิจการประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อจดทะเบียนแล้วจะถือว่ามีสภาพเป็นบุคคล ซึ่งตามกฎหมายเรียกว่านิติบุคคล ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีความแพร่หลายอยู่ไม่น้อย ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดมีลักษณะสำคัญ คือการแบ่งผู้เป็นหุ้นส่วนออกเป็น  2 จำพวก ได้แก่

             1. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด คือหุ้นส่วนจำพวกที่รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนเองลงหุ้น

          2. หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด คือหุ้นส่วนจำพวกรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน (ป.พ.พ. 1078)

          ซึ่งนอกจากหลักกฎหมายข้างต้นแล้วนั้น ยังมีข้อยกเว้นให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ต้องรับผิดร่วมกันกับห้างหุ้นส่วนในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนทำให้บุคคลภายนอกเสียหาย หากว่าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ยินดีหรือยินยอมให้นำชื่อ หรือ นามสกุล ของตนไปใช้หรือเป็นส่วนหนึ่งของชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นๆ

          ตัวอย่างเช่น นายร่ำรวย เงินมั่งมี กับ นายเขียว เปรี้ยวจี๊ด ตกลงทำธุรกิจร่วมกันโดยจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด โดนให้นายเขียว เปรี้ยวจี๊ด เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด) และให้นายร่ำรวย เงินมั่งมี เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดตามจำนวนเงินที่ลงทุน แต่นายเขียว เปรี้ยวจี๊ด เห็นว่า ชื่อของนายร่ำรวย เงินมั่งมี เป็นชื่อที่ดี ประกอบกับนายร่ำรวย เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงน่าจะทำให้ห้างฯเป็นที่รู้จักได้โดยเร็ว นายเขียว เปรี้ยวจี๊ด จึงขอนำชื่อนายร่ำรวย เงินมั่งมี ใช้เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยนายร่ำรวย เงินมั่งมี ตกลงยินยอม หากว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวใช้ชื่อว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่ำรวย หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เงินมั่งมี หรือ ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่ำรวยรุ่งเรือง หากเป็นเช่นนั้นจากนายร่ำรวยผู้เป็นหุ้นประเภทจำกัดความรับผิด จะเปลี่ยนฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้ไม่จำกัดความรับผิดทันที    และเมื่อใดห้างฯเกิดเป็นหนี้ค้าสินค้า หรือถูกฟ้องคดีให้ชดใช้ค่าเสียหาย นายร่ำรวย ต้องร่วมรับผิดกับห้างฯโดยไม่จำกัดความรับผิดแต่อย่างใด

 ดังความปรากฏตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

             มาตรา 1081 ห้ามมิให้เอาชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมาเรียกขานระคนเป็นชื่อห้าง

          มาตรา 1082 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนกังว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น

          ซึ่งตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คำว่า “ระคน” หมายความว่า การปนหรือผสมให้เข้ากันคละกันเป็นกลุ่มเป็นพวกเป็นต้น ดังนั้นในตัวบทกฎหมาย การนำชื่อตนไประคน จึงหมายถึง การยินยอมให้นำชื่อไปปะปนหรือผสมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั่นเอง

          มีคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวข้องดังนี้

          ฎีกา 2626/2548 จำเลยที่ และที่ เป็นสามีภริยา และเป็นหุ้นส่วนเพียง คนในห้างจำเลยที่ โดยจำเลยที่ เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำเลยที่ ยอมให้จำเลยที่ นำชื่อของตนไประคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ แต่แรกเริ่มจัดตั้งห้างจำเลยที่ และได้ร่วมกันกู้เงินธนาคารมาก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันและเป็นทุนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ มาแต่ต้น จำเลยที่ จึงต้องร่วมรับผิดกับ จำเลยที่ และที่ ต่อโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1082

ฎีกา 1286/2532 คำว่า"ชื่อ"ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และ1082 ย่อมหมายถึง ชื่อสกุลด้วย เมื่อจำเลยที่ ที่ ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดยอมให้ใช้ ชื่อสกุลของตน ระคนเป็นชื่อ ห้าง จำเลยที่ ที่ จึงต้อง รับผิดต่อ โจทก์ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด

ฎีกา 1422/2536 คำว่า "ชื่อ" ในบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1081,1082 หมายถึง ชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล อันเป็นชื่อเต็มของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของชื่อ หรือพยางค์หนึ่งของชื่อ เว้นแต่เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชื่อบางส่วนหรือพยางค์หนึ่งของชื่อนั้นเป็นคำที่เรียกขานเป็นชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว จำเลยที่ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความผิดของห้างจำเลยที่ 1มีชื่อว่า "วิริยะ" เพียงแต่ยอมให้ห้างจำเลยที่ ใช้คำว่า"วิ" มาระคนเป็นชื่อห้าง โดยไม่ต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่า คำว่า "วิ" นั้นเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าหมายถึงชื่อของจำเลยที่ จึงยังไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 4จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดต่อโจทก์    

          เมื่อเข้าใจความหมายของหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดและพิจารณาคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้นแล้ว ท่านผู้อ่านที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่างๆ ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจยินยอมให้ห้างหุ้นส่วนนำชื่อ หรือ นามสกุลของท่าน ไปใช้เป็นชื่อห้างหุ้นส่วน แม้ว่าชื่อ หรือ นามสกุลของท่านจะส่งผลกับการตลาดก็ไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากความเสียหายเกิดขึ้น ผลเสียมากมายที่ตามมาท่านต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นๆด้วย

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,207