กรณีถูกรถชนจนเสียชีวิต บิดา มารดา หรือทายาทฝ่ายผู้ตายสามารถเรียกค่าเสียหายอะไรได้บ้าง ?

        อุบัติเหตุจากยานพาหนะเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ใช้ชีวิตในสังคมเมืองใหญ่ เรื่องนี้ผู้เขียนมิได้มีเจตนาสาปแช่งให้ผู้ใดเสียชีวิต แต่ถ้าหากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นกับบุคคลใกล้ตัวของท่าน จะมีวิธีการเยียวยาความเสียหายอย่างไรได้บ้าง

        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ อีกด้วย

        ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย

        ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้น ทำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

        จะพิจารณาได้ว่า ค่าสินไหมทดแทนที่ญาติของผู้ตายสามารถเรียกจากคู่กรณีได้ แบ่งออกเป็น 4 กรณี คือ

        1. ค่าปลงศพ

                ฎ.1146/2558 เงินช่วยค่าปลงศพ 10,000 บาท เป็นเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ ประสงค์ชำระให้โจทก์ที่ ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเป็นค่าปลงศพ จึงต้องนำมาหักออกจากค่าปลงศพผู้ตาย ส่วนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 200,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยที่ ในฐานะผู้รับประกันภัยชำระให้แก่โจทก์ที่ ทายาทโดยชอบธรรมของผู้ตายตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งบทบัญญัติมาตรา ได้ให้คำจำกัดความของค่าเสียหายเบื้องต้นในกรณีทำให้เขาถึงตาย ได้แก่ ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รวมทั้งค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ซึ่งผู้ประสบภัยหมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย และมาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ค่าเสียหายเบื้องต้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง เมื่อค่าเสียหายของโจทก์ที่ คงมีเพียงค่าปลงศพผู้ตาย เงินค่าเสียหายเบื้องต้นที่จำเลยที่ ชำระให้แก่โจทก์ที่ 2จึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนอันเป็นค่าปลงศพซึ่งโจทก์ที่ ได้รับแล้ว จึงต้องนำมาหักออกจากค่าปลงศพผู้ตายด้วย

        2. ค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิต

                ฎ. 4352/2550 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้ามิได้ตายในทันทีค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย" ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตายแต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่ เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 โจทก์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 โจทก์จึงขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเวลา ปี เดือน วัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เป็นเงิน 30,300 บาท เท่านั้น

        3. ค่าขาดประโยชน์ในการทำมาหาได้เพราะไม่สามารถ ประกอบการงานได้

                ฎ. 4352/2550 ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง คือค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตาย แต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่

        4. ค่าขาดไร้อุปการะ (กรณีผู้ตายมีครอบครัว)

                ฎ.20920/2556 สิทธิในการเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของ ส. และของโจทก์ซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคท้าย ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว มิใช่เป็นสิทธิร่วมกันที่กฎหมายกำหนดให้บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดสามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้เพียงคนเดียว เมื่อโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ทำแทนโจทก์ การที่ ส. บิดาผู้ตาย ทำบันทึกข้อตกลงกับ ท. พนักงานขับรถของจำเลยจากการที่ ท. ทำละเมิดต่อผู้ตายและต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าจะไม่นำคดีไปฟ้องร้องไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา อันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจาก ท. และจำเลย ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์จึงไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: [IP: 223.205.242.xxx]
เมื่อ: 2023-04-08 06:28:17
รถชนตายใครได้รับค่าปลงศพบ้างค่ะ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,193