ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ไปคืนไฟแนนซ์ เสียเอง ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายหลังจากสัญญาเลิกกัน
ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ไปคืนไฟแนนซ์ เสียเอง ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายหลังจากสัญญาเลิกกัน
ช่วงหลังๆที่ผ่านมา
ลูกเพจทนายใกล้ตัว หลายท่านโทรมาปรึกษากับทีมงานเกี่ยวกับคดีเช่าซื้อว่า “พี่ค่ะ หนูผ่อนรถยนต์ไม่ไหว
หนูก็เลยนำรถยนต์ไปคืนไฟแนนซ์ ต่อมาไฟแนนซ์มาฟ้อง ให้จ่ายค่าขาดราคาจากการขายทอดตลาด
แบบนี้หนูควรจะทำยังไงดีคะ”
วันๆหนึ่ง
มีคนสอบถามเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ผมต้องเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาผมจึงตัดสินใจเขียนบทความนี้
เพื่อเป็นความรู้และวิทยาทานให้ลูกเพจทุกท่านทราบว่า
โดยส่วนใหญ่
เวลาเราทำสัญญาเช่าซื้อกับไฟแนนซ์ต่างๆ แล้วผ่อนไม่ไหว ผู้เช่าซื้อก็มักจะขาดส่งค่างวดรถติดต่อกัน
3 งวด และรอให้ไฟแนนซ์มายึดรถยนต์กลับคืนไป หากผู้เช่าซื้อทำเช่นนี้ ไฟแนนซ์จะนำรถยนต์ไปขายทอดตลาด
เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ หากนำรถยนต์ไปขายทอดตลาด
แล้วได้เงินไม่เพียงพอต่อมูลหนี้ตามสัญญา ไฟแนนซ์จึงมาฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดชอบส่วนต่างที่ยังขาด
ซึ่งผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบกับค่าเสียหายในส่วนต่างที่ขาดนั้น
แต่ในทางกลับกัน
หากผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ไปคืนไฟแนนซ์เสียเอง ก่อนที่จะผิดนัดครบ 3 งวด หรือ การที่ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์คืนไฟแนนซ์ และไฟแนนซ์ยอมรับรถยนต์ดังกล่าวคืน
ถือว่าสัญญาเช่าซื้อระงับสิ้นสุดลง
เพราะคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันเองด้วยการส่งมอบรถยนต์กลับคืนเจ้าของ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 573
ดังนี้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน โดยที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา หรือ ไฟแนนซ์ไม่ได้มายึดรถยนต์กลับไปเสียเอง
หากไฟแนนซ์นำรถยนต์ไปขายทอดตลาดได้เงินไม่เพียงพอกับยอดหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
ค่าเสียหายส่วนนี้ ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 90
เปอร์เซ็น หากเรานำรถยนต์ส่งมอบคืนให้กับไฟแนนซ์ ไฟแนนซ์ก็ยังนำคดีมาฟ้องผู้เช่าซื้อ
ให้รับผิดส่วนต่างที่ยังค้างชำระ และประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่ให้ความสำคัญ ไม่ยอมไปศาล
ไม่หาทนายไปสู้คดี และไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับไฟแนนซ์ที่ศาลเสียเอง
ซึ่งรู้ทั้งรู้ว่ายอดหนี้ที่ผู้เช่าซื้อไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความ มีมูลค่าสูงกว่าค่าวิชาชีพทนายความหลายเท่า
แต่ก็เลือกที่จะไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือไม่เดินทางไปศาลเพื่อสู้คดี
ทั้งที่ตามกฎหมายแล้ว เราไม่ต้องรับผิดใดๆทั้งสิ้น จะต้องรับผิดก็เพียงค่าเช่าซื้อค้างชำระแต่ละงวดที่เรายังไม่ได้ชำระไฟแนนซ์
ก่อนวันที่จะนำรถยนต์ส่งมอบคืนเท่านั้น
ดังนั้น
จำไว้ให้ขึ้นใจครับว่า หากผ่อนไม่ไหว เอารถไปคืนไฟแนนซ์
ขาดเหลือตามสัญญาเช่าซื้อเท่าไหร่ เราไม่ต้องรับผิด หากไฟแนนซ์ฟ้องมา
หาทนายความไปสู้คดีนะครับ !!
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
14324/2558
จำเลยเป็นฝ่ายเริ่มต้นติดต่อกับโจทก์เพื่อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ
แสดงให้เห็นจุดประสงค์ของจำเลยที่ต้องการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้รับการติดต่อก็ตกลงและนัดหมายรับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนโดยมอบหมายให้
ส. ตัวแทนโจทก์ การที่จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ ส.
จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยการส่งมอบทรัพย์คืนแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา
573 สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันนับแต่วันดังกล่าวแล้ว
จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 573
ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้
ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง
BY-
ทนายธนกฤต เบ้าธรรม
ปรึกษากฎหมาย
โทร 095-1699998 , 095-9567735 , 02-0749954
1.หลังจากคืนรถไปแล้วนานกี่วันไฟแนนจึงจะส่งหมายศาลมาถึงผู้เช่าซื้อครับ
2.ขั้นตอนการติดต่อทนาย จนถึงขึ้นศาล ผู้เช่าซื้อจะต้องไปขึ้นศาลจำนวนกี่ครั้ง? และมีค่าใช้จายในการจ้างทำนายเท่าไร?ครับ
3.กรณีค้างชำระค่างวด แต่ยังไม่เกิน3งวด ผู้เช่าซื้อต้องจ่ายค่างวดที่ค้างชำระใช่ไหมครับ
4.ที่ขอนแก่นพอรู้จักทนายที่พอช่วยได้หรือแนะนำไหมครับ
5.ถ้าขึ้นศาลเรียบร้อยแล้ว ผู้เช่าซื้อจะติดเครดิตบรูโรทางการเงินหรือไม่ครับ
..ขอบคุณทนายธนกฤตฯล่วงหน้าครับ
1.ค่างวดไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้มาก
2.โดนเซลล์โกงเงินแคมเปญ(เงินช่วยดาวน์)
และค่าอุปกรณ์ + ของแถมไม่ครบ
3.ไม่ได้ดอกเบี้ยข้าราชการ ตามที่ตกลงไว้
(ยังไม่ถึงกำหนดชำระค่างวดครับ)
ผมสามารถร้องเรียนได้ที่ไหนครับพี่
หากคืนรถในกรณีนี้ จะเสียเครดิตไหมครับ
พอดีว่าพ่อซื้อรถให้กับน้องผ่อนมาเกือบปีละแต่ผ่อนไม่ไหวเลยส่งคืนไฟแนน
แต่ไฟแนนส่งส่วนต่างที่ขายทอดตลาดมาค่ะ
แบบนี้จะถูกฟ้องขึ้นศาลป่าวค่ะ