เมื่อเราตายไปแล้ว ใครบ้าง ? ที่มีสิทธิ ได้รับมรดก


        การเกิดแก่เจ็บตาย  เป็นความจริงที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้  แต่หลังจากที่คนเราตายแล้วสิ่งที่จะเหลือให้คนที่อยู่ข้างหลัง ก็คือ มรดก

          ถ้าพูดถึงเรื่องละครไทยแล้ว ก็จะมีละครที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของมรดกอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะละครที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี คือ เรื่องบ้านทรายทอง แต่จะมีสักคนกี่คนล่ะ ที่รู้ว่ากฎหมายเรื่องมรดกนั้น เขากำหนดไว้อย่างไรบ้าง วันนี้เราจะได้รู้ไปพร้อมๆกัน

          มรดก ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหมด รวมถึงสิทธิและหน้าที่ และความรับผิดของผู้ตาย ( หนี้ ) ดังนั้น ผู้รับมรดกต้องไปรับทั้งทรัพย์สินทั้งหมดและหนี้สินทั้งหมดของผู้ตาย แต่ไม่เกินจำนวนที่ผู้รับมรดกจะได้

          ถ้าสมมุติว่าคุณตายในวันนี้ ใครจะได้มรดกจากคุณ ???

           ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม  

           ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” 

           ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”                                  

           ซึ่งในบทความนี้ขอเสนอ “ทายาทโดยธรรม” ซึ่งเป็นทายาทที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ทายาทโดยธรรม มีสองประเภท คือ คู่สมรส กับ ญาติ                       ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629                                            

           1.คู่สมรส ที่มีสิทธิจะได้รับมรดกจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกัน ไม่ใช่แค่อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาเท่านั้น       

           2.ญาติ มีอยู่ 6 ลำดับ ดังต่อไปนี้                                                                             

               1) ผู้สืบสันดาน ( เช่น ลูก หลาน เหลน )                                                             

               2) บิดามารดา 

               3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน                                                                         

               4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน                                                       

               5) ปู่ ย่า ตา ยาย                                                                                           

               6) ลุง ป้า น้า อา

            การที่จะดูว่าใครบ้างจะมีสิทธิได้รับมรดก   ต้องพิจารณาลำดับของทายาทเสียก่อน  ซึ่งโดยปกติแล้วถ้ามีทายาทลำดับก่อนจะตัดสิทธิทายาทลำดับหลัง ยกเว้น ทายาทลำดับหนึ่งจะไม่ตัดสิทธิทายาทลำดับสอง ดังนั้น ถ้าเจ้ามรดกมีลูกและแม่อยู่ ทั้งลูกและแม่ก็มีสิทธิได้รับมรดก แต่ถ้าเจ้ามรดกมีแม่และน้อง น้องจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก  ส่วนใครจะมีสิทธิได้รับมรดกเท่าไร ต้องพิจารณาระหว่างทายาทประเภทคู่สมรสและญาติ หากเจ้ามรดกไม่มีคู่สมรส ทายาทมีสิทธิได้รับมรดก จะได้ส่วนแบ่งเท่ากัน ในกรณีที่เจ้ามรดกมีคู่สมรสจะต้องดูลำดับของญาติเป็นหลัก ถ้ามีคู่สมรสและมีญาติลำดับที่หนึ่ง ได้แก่ บุตร คู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งเท่ากับบุตรคนหนึ่ง แต่ถ้ามีทายาทลำดับที่สองหรือสาม คู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งของมรดกทั้งหมด ถ้ามีทายาทลำดับที่สี่หรือห้าหรือหก คู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งสองส่วนสามของมรดกทั้งหมด          เช่น นายเฟส มีทรัพย์สินได้แก่  เงินสด 1,500,000 บาท ต่อมานายเฟสเสียชีวิต ต่อมานายเฟสเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในขณะนั้น นายเฟส มีคู่สมรส และญาติอยู่สองคน ได้แก่ แม่ และน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน  แล้วใครบ้างมีสิทธิได้รับมรดกและได้รับจำนวนเท่าไหร่ ???                                                    

             มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้             

          1. ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629  (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร                                                                       

            2. ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 ( 3 ) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629  ( 1 ) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629  ( 2 ) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง        

            3. ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629( 4 ) หรือ ( 6 ) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตามมาตรา 1629 ( 5 ) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม                                        

            4. ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ในมาตรา 1629  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด   คำตอบคือ     คู่สมรสมีสิทธิได้สินสมรสครึ่งหนึ่ง คือจำนวน 750,000 บาท  ส่วนทรัพย์สินในส่วนที่เหลือ 750,000 บาท  ย่อมตกสู่กองมรดก ดังนั้น คู่สมรสของเจ้ามรดกมีสิทธิได้รับมรดกจำนวน 375,000  บาท ส่วนแม่ของเจ้ามรดกมีสิทธิได้รับมรดกจำนวน 187,500 บาท และน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันของเจ้ามรดกมีสิทธิได้รับมรดกจำนวน 187,500 บาท     นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาว่าทายาทแต่ละลำดับมีทายาท ผู้รับมรดกแทนที่ หรือไม่     ตามกฎหมายกำหนดให้ ทายาทลำดับที่  (1) (3) (4) หรือ (6) ในกรณีที่เสียชีวิตก่อนเจ้ามรดก ผู้สืบสันดานของทายาทที่เสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกนั้น สามารถเข้ารับมรดกแทนที่กันได้ในส่วนของทายาทนั้นๆ  เช่น นายเฟส เป็นเจ้ามรดก มีลูกอยู่สองคน คือ นายโฟม กับ นายโอม  แต่นายโอม เสียชีวิตก่อน นายเฟส  แต่ นายโอม มีลูกชายอยู่สองคน  ดังนั้น คนที่มีสิทธิรับมรดก คือ นายโฟม  และ ลูกชายของนายโอม ทั้งสองคน โดยลูกชายของนายโอม มีสิทธิได้รับมรดกคนละครึ่งจากส่วนของนายโอม   ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการแบ่งมรดกก็ต้องมีการตั้งผู้จัดการมรดกและยื่นคำร้องขอจัดการมรดกต่อศาลตามกฎหมายเสียก่อน  มีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาให้ดูครับ

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2548 ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายก็มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกของ ช. เจ้ามรดกตกทอดได้แก่ทายาทซึ่งรวมทั้ง ม. มารดาผู้ร้องด้วย แต่ ม. ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว สิทธิในทรัพย์มรดกของ ช. ส่วนที่ตกได้แก่ ม. จึงเป็นมรดกของ ม. ที่ตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาท ผู้ร้องจึงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นมรดกของ ช. ด้วยตามส่วน ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ได้

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: นางราตรี. เมืองสาคร [IP: 27.55.70.xxx]
เมื่อ: 2020-07-04 17:24:12
กฎหมายคือที่พึ่งของประชาชน


ไป
#2 โดย: บอย [IP: 125.26.217.xxx]
เมื่อ: 2020-07-29 19:34:34
คนตายเป็นคนพเนจรถ้าไม่มีญาติมารับศพเราสามารถรับเป็นญาติได้เปล่าครับแล้วต้องทำยังไงมั้ง

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,238