การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ 20,000 บาทหรือกว่านั้น หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ “ฟ้องคดีได้หรือไม่”

 ก่อนอื่นผมขออธิบายคำว่า “สังหาริมทรัพย์” เสียก่อน สังหาริมทรัพย์หมายถึง ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่ติดกับพื้นดินเป็นการถาวร โทรศัพท์ ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ

     การซื้อขายกันถือเป็นเรื่องใกล้ตัวกับเรามากๆเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ และการซื้อขายที่มีความเสี่ยงสูงมากคือ ซื้อขายของออนไลน์ ผ่าน Facebook IG กลุ่มไลน์ ต่างๆ ซื้อขายกันตั้งแต่หลักร้อย ถึง หลักล้านก็มี ปัญหาหลังการซื้อขายก็มีเยอะแยะมาก กฎหมายจึงวางหลักเรื่องการซื้อขายที่มีมูลค่าสูงเอาไว้ดังนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสาม การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ 20,000 บาทหรือกว่านั้น หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิด หรือวางประจำ หรือชำระหนี้บางส่วน จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ และในทางกลับกันนั้น หากการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาน้อยกว่า 20,000 บาท ลงมา แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิด หรือวางประจำ หรือชำระหนี้บางส่วน ก็สามารถฟ้องบังคับกันได้ ที่นี่เรามาดูตัวอย่างจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกากันครับ

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 7735/2555

        ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม นอกจะบัญญัติให้การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนไว้ ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เช่นกัน คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในการซื้อขายต้นอ้อย โจทก์และจำเลยไม่ได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายโจทก์หรือจำเลยผู้ต้องรับผิดไว้เป็นสำคัญ แต่ในวันที่ตกลงซื้อขายกัน โจทก์ได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์ต้นอ้อยให้แก่จำเลยและจำเลยเข้าไปตัดต้นอ้อยของโจทก์ไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล อันถือได้ว่าโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายคือส่งมอบต้นอ้อยให้จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาต้นอ้อยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 7188/2551

        จำเลยสั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่า การซื้อขายสินค้ารายนี้ โจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อของจำเลยมาแสดง การซื้อขายชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 3522/2545

        ตามมาตรา 456 วรรคสอง ที่ว่า ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว กฎหมายมุ่งบัญญัติให้ใช้บังคับแก่คู่สัญญาทั้งฝ่ายผู้ขายและผู้ซื้อ ดังนั้น หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ชำระหนี้ส่วนของตนไปแล้ว ก็ย่อมจะเรียกร้องเอาสิทธิที่ตนจะได้รับจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ เพราสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าของตนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้อแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนของตนแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9231/2544

        เมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะจัดส่งสินค้าให้แก่จำเลยผ่านบริษัทขนส่งสินค้า โจทก์จะรวบรวม ใบส่งของชั่วคราวฉบับจริงและใบขนส่งบริษัทขนส่งไว้เป็นหลักฐาน และจะทำใบวางบิลสรุปยอดหนี้ว่ามีจำนวน เท่าใด และโจทก์ไม่มีหลักปฏิบัติว่าเมื่อค้างสินค้าจนถึงเวลาใดจึงจะไปเรียกเก็บ แต่โจทก์จะรวบรวมค่าสินค้าที่ค้างชำระไปเรียกเก็บจากจำเลยโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ทันทีนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าตามใบส่งของ แต่ละฉบับ มิใช่นับจากวันที่โจทก์สรุปยอดหนี้วางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินจากจำเลย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 อายุความจึงเริ่มนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยตามวันที่ระบุในใบส่งของแต่ละฉบับ

 

        ดังนั้น หากผู้ซื้อและผู้ขายประสงค์ให้การซื้อขายมีผลทางกฎหมายและสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

       1. ทำหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิด (ทำสัญญา)

       2. วางประจำ (มัดจำ)

       3. ชำระหนี้บางส่วน

       4. มีหลักฐานใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล (ให้ผู้ซื้อเซ็นรับไว้)

        ในการดำเนินคดีกันในศาล พยานหลักฐานนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการพิจารณาคดีของศาลนั้น ศาลจะพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันและที่ปรากฏในสำนวนศาลเท่านั้น ดังนั้นแล้ว การทำสัญญาซื้อขายจึงนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเลยทีเดียว แม้ถึงว่าจะเป็นคู่ค้าหรือทำมาค้าขายกันมานานแสนนานก็เถอะ เรื่องเงินๆทองๆมันไม่เข้าใครออกใคร ยิ่งไว้ใจกันมากเท่าไหร่ก็ยิ่งอันตรายมากเท่านั้น การทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำในสิ่งที่กฎหมายให้การรับรองการใช้สิทธิเป็นเรื่องที่ควรทำ ทำไว้เถอะครับ ไม่เสียหายหรอก ถึงเวลาต้องใช้ขึ้นมาจะได้ไม่เสียสิทธิและเสียเปรียบใคร

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: - [IP: 1.46.64.xxx]
เมื่อ: 2018-04-30 11:52:41
ถ้าเจ้าของดินไม่ยอมทำสัญญา แต่เราชำรำหนี้แทน โดนเป็นชื่อของเจ้าของดิน เราจะฟ้องร้องได้ไหมค่ะ
#2 โดย: นายิ [IP: 49.230.158.xxx]
เมื่อ: 2020-09-27 15:59:59
ไม่ได้​เพราะไม่ได้ทำสัญญา​
#3 โดย: โทบิ [IP: 61.91.187.xxx]
เมื่อ: 2021-07-26 16:52:33
ในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ไม่ถึงสองหมื่นบาท โจทก์และจำเลยมิได้ทำสัญญาไว้ โจทก์กับจำเลยตกลงซื้อขายโทรศัพท์มือถือ ให้ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนด แต่จำเลยไม่ได้ชำระ และได้นำทรัพย์ดังกล่าวขายต่อบุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกได้โอนเงินให้แก่จำเลยแล้วเสร็จ บุคคลได้เรียกร้องทรัพย์นั้นต่อโจทก์ ใครต้องรับผิดอย่างไรบ้างครับ
#4 โดย: TUM [IP: 171.96.99.xxx]
เมื่อ: 2022-08-15 08:01:07
ถ้าเจ้าของที่ดินทำสัญญาแล้วและได้ลงนามอยู่ฝ่ายเดียว..ซึ่งจำเลยยังไม่ได้ลงนามในสัญญา..โจทก์สามารถฟ้องค่าเสียเวลาซื้อขายได้ไหม ครับ..(****ที่จำเลยยังไม่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก็เพราะเนื่องจากจำเลยกู้ไม่ผ่าน***)

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,466