ออกเช็คอย่างไร ? ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

ออกเช็คอย่างไร ? ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค วันนี้มีตัวอย่างมาให้ดู 2 กรณีครับ

 

กรณีที่ 1 >> รู้อยู่แล้วว่าขณะที่ออกเช็ค ผู้ออกเช็คไม่มีทางที่จะชำระเงินตามเช็คได้ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523 - 1524/2525
        จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์โดยโจทก์ทราบดีแล้วว่า ขณะที่ออกเช็คนั้นจำเลยไม่มีทางที่จะชำระเงินตามเช็คได้ และจำเลยอยู่ในภาวะที่ถูกบีบบังคับให้ต้องออกเช็คการออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

กรณีที่ 2 >> รับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คมีไม่พอจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2528
        ท.กับจำเลยเข้าหุ้นกันค้าขาย เช็คพิพาทเป็นของห้างหุ้นส่วน ซึ่ง ท.ทราบยอดเงินในบัญชีดีและท.รับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่ จำเลยออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย ท. กับโจทก์สมคบกัน สลักหลังโอนเช็คให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินและ นำเช็คมาฟ้องคดี โดยท.มิได้เป็นหนี้โจทก์และโจทก์ทราบความเป็นมา ของเช็คพิพาทดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยย่อมไม่มีความผิด

        ทั้งสองกรณีนี้ เป็นการใช้หลักโดยความยินยอมของผู้เสียหาย เพราะความยินยอมในความผิดอาญาบางฐาน หากผู้เสียหายยินยอมให้กระทำได้ก็เป็นผลให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด โดยเฉพาะความผิดที่อยู่ในประเภทความผิดต่อส่วนตัว ทั้งนี้ มาจากสุภาษิตกฎหมายโรมันที่่า ความยินยอมไม่ทำให้เสียหาย เว้นแต่ความยินยอมนั้นจะขัดต่อความสำนึกในศิลธรรมอันดี (ฎีกาที่ 1403/2508 (ประชุมใหญ่))

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,189