ตอนที่ 8 ลูกจ้างถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้
ลูกจ้างทั้งหลาย โปรดฟัง โดยปกติหากลูกจ้างเป็นฝ่ายเขียนใบลาออกจากงานเอง
ก็ไม่สามารถเรียกร้องอะไรจากนายจ้างได้เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าชดเชย
ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ) หรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
และ ก็เป็นที่ยอดฮิตเหลือเกินสำหรับนายจ้างทุกๆที่ เวลาจะให้ลูกจ้างออกจากงาน
แทนที่จะยอมจ่ายดีๆ ก็ใช้อำนาจในฐานะที่ตนเป็นนายจ้าง
เรียกลูกจ้างมาให้เขียนใบลาออก หรือ กดดันต่างๆนานาให้ลูกจ้างออกไปเองบ้าง
กดดันให้เขียนใบลาออกบ้าง เพื่อจะให้ลูกจ้างไปฟ้องคดีไม่ได้ หรือพูดง่ายๆว่า
ฟ้องไปก็แพ้อะไรทำนองนั้น
แต่ลูกจ้างทั้งหลาย ฟังทางนี้ครับ
กรณีที่นายจ้างกดดันให้ต้องเขียนใบลาออก หรือ กดดันให้ต้องออกงานไปเองหากการลาออกไม่ได้เกิดจากความสมัครใจที่จะเขียนใบลาออก
หรือ ไม่ได้สมัครใจที่จะออกจากงานแล้ว ศาลท่านถือว่าเป็นการที่นายจ้าง “เลิกจ้างลูกจ้าง”
นะครับ
ซึ่งถ้าเป็นการเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รบเงินค่าชดเชยตามอายุการทำงาน
มีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า(ค่าตกใจ)
และศาลอาจสั่งให้นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีกด้วยนะครับ
เทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2548
สรุปคือ
“ถ้าลูกจ้างไม่ได้มีเจตนาที่จะลาออกจริงๆ แต่ถูกกดดันหรือบังคับให้เขียนใบลาออก
กฎหมายถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ฟ้องเรียกค่าชดเชยได้ครับ”
By : ทนายนำชัย ปรึกษากฎหมาย โทร 086-3314759
แต่พอถึงเวลาไม่จ่าย และหาเรื่องเราล่ะครับ หาเรื่องให้เราผิดอะไรแบบนี้ครับ
และเราไม่ได้ทำผิดอะไรเลย เราทำงานอยู่ในเกรฑ์มาตรฐานปกติ
เหมือนกดดันให้เราลาออก
ทำไงดีครับ
เรื่องมียุว่าร้านหนูเป็นร้านอาหารอิตาเลียนทำงานมา 9 ปี 2 เดือน 22 วัน แต่อยู่ในเครือขององค์กรณ์ใหญ่พอสมควร ช่วงที่เกิดโควิด ประมาณวันที่ 22หรือ 23ไม่แน่ใจ เขามีสัญาอีกฉบับมาให้พนักงานเช็นให้เปลี่ยนจากเงินเดือนเป็นรายวัน
พวกเราในร้านหรือสาขาอื่นๆๆก็พากันเช็นเพราะเห็นใจบริษัท เอกสารตัวใหม่จะมีผลเริ่มใช้วันที่ 1/4/2563 แต่มาสิ้นเดือนมีนาคม 2563 เงินเดือนออก แต่รู้ไหมสิ่งที่เราไม่ได้คือ Service. Chang
ทุกสาขาไม่ได้ service. Chang. เราเข้าใจค่ะช่วงโควิด แต่ยอดที่เราจะได้มันตัดรอบแล้ว รอบ 16/2/2563-15/3/2563 แล้วมาถึงสิ้นเดือนเขาไม่จ่ายแล้วโดยไม่ได้แจ้งพนักงานล่วงหน้าเลย แล้ะปกติสลิปจะเข้าก่อนเงินเดือนออกอยู่แล้ว แต่วันที่ 30/3/2563 พากันเชคสลิปไม่เลนโทรไปหา HR ว่าทำไม่สลิปไม่เข้า เข้าแจ้งมาว่าระบบมีปัญหา รอจนเงินออกจึงดูสลิปได้ตอน 9 โมงเช้า ทำอะไรไม่ได้แล้วเพราะโดนตัด service chang ไปแล้ว
เริ่มเดือนเมษายน เราก็ทำงานเป็นรายวันสลับกันทำสลับกันหยุดเพื้อให้ทุกคนใด้เงินรายวัน ทำไปปกติจนถึงวันที่ 10เมษายน 2563 ประมาณบ่าย 2 โมง ทาวหัวหน้าโทรมาบอกว่าขายวันนี้วันสุดพรุ่งนี้เข้าร้านเคลียของเพื่อทำการปิด ตกใจค่ะเขาไม่ได้แจ้งการปิดร้านล่วงหน้าเลย วันที่ 11)4เราไปเคลียของที่ร้านเสร็จ เขาให้เข้าออฟฟิต วันที่ 13/4 เราก็เข้าไปโดยที่ไม่รู้ว่าเขาจะให้เราเช็นใบลาออก ทุกคนก็เข้าไปนั่งฟัง สรุปง่ายๆๆให้เซ็นใบลาออกภายในวันนี้ทั้งที่พวกเรางงมากและชอค กับคำนี้ พวกเราก็ปรึกษากันแล้วบอกกับทาง HR ว่า ขอเวลาอีก2วันค่อยมาเช็นได้ไหมพร้อมกับคืนชุด คือเขาไม่ยอมค่ะเขาจะให้เราเช็นในวันนี้ให้ได้ (ที่เราขอเวลา 2 วันคือเราจะมาคุยกับประกันสังคมว่านายจ้างให้ออกแบบนี้ถูกไหมเราจะได้อะไรบ้าง)เราถามHR นะเรื่องค่าตอบแทนถ้าเซ็นออกแล้วคุณจะชดเชยให้พวกเรายังไงเขาตอบได้แค่ว่า (ไม่มีเงิน เงินหมด) เพราะที่เราฟังมันเข้าข่ายเลิกจ้างแน่นอน แต่รูู้ไหมพวกเราที่อยู่ในห้องพากันเช็นแบบไม่เต็มใจและไม่พอใจ
แบบนี้อยากทราบว่าถ้าเราเช็นใบลาออกไปแล้วเราสามารเรียกร้องสิ่งที่เราจะได้ไหมค่ะ เงินเลิกจ้างจากนายจ้าง กับเงินว่างานที่จะได้กับประกันสังคมว่างงานจากการเลิกจ้างปิดกิจการที่เราต้องได้อีก 75%
ให้คำตอบหรือช่วยหนูด้วยค่ะ เหมือนโดนลอยแพเลยค่ะตอนนี้
แล้วเค้าบอกให้เขียนใบลาออกแล้วเราจะได้เงินที่นายจ้างยังไม่จ่ายเราไหมค่ะ
ต่อรองแล้ว บริษัทแจ้งว่าไม่มีออเดอร์ หากไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ ก็ต้องให้หยุดไป 90 วันกินเงินประกันสังคม หลังจากนั้นต้องมาดูอีกทีว่าเขาจะให้กลับมาทำงานรึเปล่า
เพราะหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นบริษัทอาจจะถูกฟ้องล้มละลาย(ไม่แน่ใจว่า HR กับผู้บริหาร เพียงแค่ขู่รึเปล่า) เงินค่าชดเชยก็ไม่มีจ่าย ต้องฟ้องร้องเอา และไม่แน่ใจว่า ณ. ตอนนั้น บริษัทจะยังมีเงินจ่ายเรารึเปล่า
ทำยังไงดีค่ะ
.....ในกรณีแบบนี้ผมต้องทำยังไง....แล้วเอาผิดนายจ้างได้ไหม
.....ในกรณีแบบนี้ผมควรต้องทำยังไง....
ขอบคุณค่ะ
ชุด_อพ_สธแพนกีวะวิธีคะ
หนูขอปรึกษาหน่อยค่ะ ว่าสามารถเอาผิดอะไรดค้าได้ไหมค่ะ
มีช่วงหนึ่งที่ต้องถ่ายวิดีโอโปรโหมดร้านอาหาร บรษัทบังคับพนักงานเข้าร่วม โดยถ่ายคลิปหลังเลิกงานคือ (เข้างาน 14:30 - 23:30) เราโดนบังคับเข้าร่วมถ้ายตั้งแต่ 23:30 - 03:00 โดยไม่มีค่าโอที และหากมาทำงานสายจะโดนหักเงิน 100 บาท หากมาสายเกินชั่วโมงจะถูกหัก 250 บาท แต่ถ้ามาสายครึ่งวันจะถูกหัก 500 บาทค่ะ เรารู้สึกโดนเอาเปรียบมาก
1) ช่วงโควิดระบาดและสั่งปิดร้านอาหารแบบนั่งทาน บริษัทเราจ่ายค่าจ้างพนักงานแค่ 75% ทั้งๆที่จริงแล้วเร่ควรได้ 100% เต็ม (คือต้องบอกก่อนว่า บริษัทเราคิดเงินเดือน 21 -20 เงินออกวันที่สิ้นเดือน ส่วนเชอร์วิทชาร์ทคิด 21-20 เงินออกทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป) แต่พอโควิดมา เราได้แค่เงินเดือนซึ่งจ่ายแค่ 75% เชอร์วิทเราไม่ได้เลย
2) ช่วงโควิด เราก็ทำเดลิเวอรี่ช่วยบริษัท เพราะเค้าให้เหตุผลว่าถ้าเรียกพนักงานแล้วไม่มาทำงานจะต้องโดนไล่ออก โดยเดลิเวอรี่คือพนักงานต้องขับรถไปส่งอาหารลูกค้าเอง ระยะทางไกลสุดที่เราไปมาคือ 30 กิโลเมตรห่างจากร้าน และระหว่างส่งอาหารหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบริษัทจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น ทั้งค่ารักษาพยาบาล และค่าแรงที่เราหยุดรักษาตัว (ลางาน 1 วันหัก 1000 บาทหากไม่มีใบรับรองแพทย์ ถ้ามีใบรับรองแพทย์หัก 500 บาทต่อวัน ) ค่าแรงที่ทำงาน 350 บาทต่อวัน
3) ร้านกลับมาขายอาหารได้ตามปกติ บริษัทบังคับให้พนักงานทำงานวันล่ะเกือบ 10 ชั่วโมงโดยไม่จ่ายโอที (อันนี้ไม่รวมเวลาพักเบรกอีก 2 ชั่วโมงนะคะ)
ค่าแรงยังจ่าย 350 บามเท่าเดิม
4) พอวันที่ 20 ที่ผ่านมาเราลาเขียนใบลาออก ซึ่งเราต้องสิ้นสุดวันทำงานคือวันที่ 20 ของเดือนธันวาคม 2563 แต่ทางบริษัทโดยคนญี่ปุ่นบังคับให้เราเขียนใบลาออกแผ่นใหม่คือให้เราทำงานถึงวะนที่ 28 ของเดือนพฤศจิกายน 2563 ทั้งๆที่เราไปทำงานวันที่ 29 เราถูกบังคับให้ออกก่อนกำหนด เงินเดือนและเชอร์วิทชาร์ทต่างๆที่เราจะได้ก็จะไม่ได้ เราสามารถฟ้องร้องได้ไหมค่ะ เราไม่โอเครเลยค่ะ