คดีเช็ค สู้อย่างไรให้ศาล "ยกฟ้อง"

สู้คดีเช็คอย่างไร ? ให้ศาลยกฟ้อง

  ผมเชื่อว่าใครหลายๆคนเคยสั่งจ่ายเช็คให้เจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ หรือ การค้ำประกันหนี้ต่างๆ ไอ้ตอนสั่งจ่ายเงินในบัญชีเรามันก็มี แต่พอถึงวันที่ ที่กำหนดในเช็คนี้สิ เงินม่ายยยยมี แบบนี้เช็คเด้งขึ้นมา ลูกหนี้ก็คิดว่าซวยสิครับ โดนฟ้องเป็นคดีอาญาแน่นอน มีเหตุผลไหนบ้างที่ลูกหนี้จะเอาตัวรอดจากคดีเช็คเด้งได้บ้าง ผมอธิบาย ไว้ 6 ตัวอย่าง ดังนี้

1.       เช็คฉบับดังกล่าวเราสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ที่เกิดการพนัน  

ตัวอย่าง ลูกหนี้ติดหนี้พนันบอล  เลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้พนันบอล เช็คเด้งขึ้นมา เจ้าหนี้ฟ้องให้เรารับผิดตาม พรบเช็ค ฯ ไม่ได้ (ฎีกาที่ 2493/2527)

2.      ออกเช็คเพื่อประกันหนี้  โดยเรามิได้มีเจตนาจะใช้เช็คนั้นเพื่อเป็นการชำระหนี้

ตัวอย่าง ลูกหนี้ทำสัญญากู้ยืมเงิน 300,000 บาท  ถูกต้องตามกฎหมาย เราออกเช็คให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ว่าหากถึงวันกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเมื่อไหร่ ลูกหนี้ไม่ชำระ ให้เจ้าหนี้ ให้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปเรียกเก็บได้เลย พอถึงวันกำหนดในเช็ค เช็คเด้งขึ้นมา อย่างนี้ลูกหนี้อย่างเราต่อสู้ได้ว่า เราสั่งจ่ายเช็คมีเจตนาเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน   มิใช่สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน  (ฎีกาที่ 734/25471213/2545)

3.     ขณะออกเช็ค ยังไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ แม้ภายหลังจะมีการทำสัญญากู้ยืมเงิน ก็เป็นการออกเช็คที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย

ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559  ลูกหนี้กู้ยืมเงิน จำนวน300,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559 ลูกหนี้ออกเช็คสั่งจ่ายลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 เพื่อชำระหนี้กู้ยืมเงิน  โดยระบุข้อความในเช็คว่าเพื่อชำระหนี้เงินกู้ เมื่อถึงวันที่25 พฤศจิกายน 2559 เช็คเด้ง ขึ้นมา เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องตาม พรบ.เช็คฯได้ (ฎีกาที่ 3722/2538)

4.      ลูกหนี้ไม่ได้ลงวันที่ในเช็ค ภายหลังเจ้าหนี้เป็นผู้ลงวันที่ในเช็คดังกล่าวเอง เมื่อเช็คถึงกำหนดขึ้นเงิน เช็คเด้งขึ้นมา ลูกหนี้ไม่มีความผิดตาม พรบ.เช็คฯ

เนื่องจาก เช็คไม่ลงวันที่ ถือว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ ป.พ.พ. มาตรา 910 ประกอบ มาตรา 989 จะให้สิทธิแก่ผู้ทรงจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้นั้น ก็เพียงแต่ให้เช็คนั้นมีรายการที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ฟ้องร้องบังคับกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น หาเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คฯ ไม่ (ฎีกาที่  755/2547)

5.     เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 3 เดือน นับแต่วันที่ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน โดยมิได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน คดีขาดอายุความ เจ้าหนี้นำคดีมาฟ้องไม่ได้ (ฎีกาที่ 914/2535)

6.     ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คโดยนำดอกเบี้ยที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดรวมเข้าไปในต้นเงินในเช็ค

ตัวอย่าง กู้ยืมเงิน 100,000 บาท ในสัญญากู้ระบุว่าลูกหนี้ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี ลูกหนี้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไว้ล้วงหน้า โดยระบุตัวเลขในเช็คเป็นเงินจำนวน 120,000 บาท เมื่อธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน เป็นการที่จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งจำนวนเงินส่วนหนึ่งในเช็คเป็นการชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และจำนวนเงินอีกส่วนหนึ่งเป็นการชำระหนี้ในจำนวนเงินที่ต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยในเช็คฉบับเดียวกันและไม่อาจแบ่งแยกกันได้ การกระทำของลูกหนี้จึงไม่เป็นความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา4 เจ้าหนี้นำคดีมาฟ้อง ยกฟ้องแน่นอน (ฎีกาที่ 5529/2539)

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: Linly [IP: 118.173.66.xxx]
เมื่อ: 2022-04-27 22:39:27
@sawasdeeketo
#2 โดย: radickjames7@gmail.com [IP: 197.210.227.xxx]
เมื่อ: 2022-11-09 18:10:13
--
สวัสดีคุณนายและมาดาม

เราเป็นโครงสร้างสินเชื่อส่วนบุคคล
เพื่อต่อสู้กับความยากจนและการกีดกันธนาคาร I
ข้อเสนอออนไลน์:

- สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์
- สินเชื่อส่วนบุคคล
- สินเชื่อการเงิน
- สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์

และทุกอย่างตั้งแต่ 200000 บาทถึง 50000000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับเงินกู้ทั้งหมด และเงื่อนไขของข้อเสนอเงินกู้นั้นง่ายมาก เงินกู้ที่ร้องขอจะได้รับภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากส่ง ข้อเสนอของฉันเป็นเรื่องจริงจัง คุณสามารถรับรู้ได้โดยขั้นตอนตามกฎหมายสำหรับการให้กู้ยืมเงินระหว่างบุคคล

ติดต่อบริษัทวันนี้และแจ้งให้เราทราบว่าคุณต้องการกู้เงินเท่าไหร่

ที่อยู่อีเมลของบริษัทคือ:
(radickjames7@gmail.com)
+2349169711537

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,269